หน่วยสมรรถนะ
ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-ABNB-388B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง สามารถประยุกต์ใช้วิธีมาตรฐานเพื่อการออกแบบวิธีการสอบเทียบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนสามารถทวนสอบความใช้ได้ของวิธีการสอบเทียบที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้บริหารจัดการระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ- คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) - ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01FR5AA11 ประยุกต์ใช้วิธีการอย่างเหมาะสมสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
1. เลือกใช้วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน |
01FR5AA11.01 | 191020 |
01FR5AA11 ประยุกต์ใช้วิธีการอย่างเหมาะสมสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
2. ทวนสอบ/ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง ก่อนนำไปใช้งาน |
01FR5AA11.02 | 191021 |
01FR5AA12 ออกแบบระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
1. เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงประเภท
ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับตามคู่มือการปฏิบัติงาน |
01FR5AA12.01 | 191022 |
01FR5AA12 ออกแบบระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
2. ออกแบบระบบควบคุมภาวะแวดล้อมการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง |
01FR5AA12.02 | 191023 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
สามารถเข้าใจในรายละเอียดการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง มีทักษะทางเทคนิคการปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ ความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนางานได้ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง 2. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง 3. การอ่านและแปลความหมายของเอกสารวิธีการมาตรฐานได้ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรวิทยาการสอบเทียบและการวัด 2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือมาตรฐานสาขาแรง 3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการมาตรฐานต่างๆ สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง 4. ความรู้ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารวิธีปฏิบัติงาน หรือ 2. หลักฐานการออกแบบและพัฒนาการสอบเทียบเครื่องมือวัดแรง 3. หลักฐานการพิสูจน์ความใช้ได้ของวิธีการวัด (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. บันทึกการสัมภาษณ์ 2. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะการออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียนและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาจากผลการทดสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง ใช้ในการสอนงานเป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น หรือ เป็นวิธีที่อ้างอิงตามวิธีการมาตรฐาน (ข) คำอธิบายรายละเอียด
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. พิจารณาจากผลการทดสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากสัมภาษณ์ |