หน่วยสมรรถนะ
คำนวณค่าความไม่แน่นอนและประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-LLYS-371B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | คำนวณค่าความไม่แน่นอนและประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้และความเข้าใจในการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร สามารถจัดทำโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม และประเมินความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01VO4AA21 คำนวณค่าความไม่แน่นอนการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาปริมาตร |
1. รวบรวมข้อมูลแหล่งที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของการวัด
และจัดทำโปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด สาขาปริมาตร
ตามคู่มือการปฏิบัติงาน |
01VO4AA21.01 | 190746 |
01VO4AA21 คำนวณค่าความไม่แน่นอนการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาปริมาตร |
2. ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของสาขาปริมาตร
ตามคู่มือการปฏิบัติงาน |
01VO4AA21.02 | 190747 |
01VO4AA22 ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาปริมาตร
เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด |
1.รู้และเข้าใจในเกณฑ์การยอมรับผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
01VO4AA22.01 | 190748 |
01VO4AA22 ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาปริมาตร
เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด |
2.
ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร เทียบกับเกณฑ์ยอมรับ
ตามคู่มือการปฏิบัติงาน |
01VO4AA22.02 | 190749 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
มีความรู้ความเข้าใจในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร 2. การใช้โปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 3. การระบุเกณฑ์การยอมรับ หรือค่าความผิดพลาดสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. รู้เกี่ยวกับการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร 2. รู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Excel 3. รู้เกี่ยวกับการการคำนวนทางสถิติ 4. รู้เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสิน และการระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. โปรแกรมที่ใช้ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร 2. บันทึกการตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่ใช้ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร 3. ระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบ ในใบรับรองการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On the job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง 2. บันทึกผลข้อสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Excel ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร และการระบุความเป็นไปได้ตามเกณฑ์ ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. สาธิตการปฏิบัติงาน 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. เกณฑ์การตัดสิน (Decision rule) หมายถึง เกณฑ์ที่อธิบายว่าจะนำความไม่แน่นอนของการวัดมาใช้อย่างไรในการระบุว่าเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ 2. เกณฑ์การยอมรับ หมายถึง ค่าความผิดพลาดสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ (±Tolerance) ของเครื่องมือวัดสาขาปริมาตร (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. เครื่องมือมาตรฐานในการวัดสาขาปริมาตร ได้แก่ เครื่องชั่ง 2. เครื่องมือมาตรฐานในการวัดสภาวะแวดล้อมสาขาปริมาตร ได้แก่ หมายถึง Barometer, Thermometer, Thermo-Hygrometer, Stop Watch เป็นต้น 3. เครื่องมือวัดสาขาปริมาตรในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง 3.1 เครื่องมือวัดสาขาปริมาตรประเภท Glassware ได้แก่ Cylinder, Volumetric Flasks, Volumetric Pipette, Burets, Graduated Pipette เป็นต้น 3.2 เครื่องมือวัดสาขาปริมาตรประเภท Piston-operated ได้แก่ Piston Pipette (Single, Multi), Dispenser, Piston burette เป็นต้น (ค) เอกสารอ้างอิง 1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories 2. ILAC G8:09/2019 Guidelines on decision rules and statements of conformity 3. ASTM E 542-01 (2021) Standard Practice for calibration of Laboratory Volumetric Apparatus 4. ISO 8655–2: 2002, Piston – operated volumetric apparatus – Part 2: Piston pipettes 5. ISO 8655–3: 2002, Piston – operated volumetric apparatus – Part 3: Piston burettes 6. ISO 8655–5: 2002, Piston – operated volumetric apparatus – Part 5: Dispensers 7. ISO 8655–6: 2002, Piston – operated volumetric apparatus–Part 6: Gravimetric methods for the determination of measurement error 8. ISO/TR 20461: 2000 Determination of uncertainty for volumetric measurements made using the gravimetric method |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. สาธิตการปฏิบัติงาน 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |