หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-SCER-232B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยํา (ISCO-08 Thai version)


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และสถิติในการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัดแบบเอ ค่าความไม่แน่นอนของการวัดแบบบี ค่าความไม่แน่นอนมาตรฐานรวม ค่าตัวประกอบครอบคลุม สัมประสิทธิ์ความไว ค่าความไม่แน่นอนขยาย ระดับของความเชื่อมั่น และการรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดระดับ 3

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01QS30011

คำนวณผลการวัดโดยวิธีทางสถิติ

1. ประยุกต์ใช้งานคณิตศาสตร์และสถิติเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับงานด้านมาตรวิทยา

01QS30011.01 187815
01QS30011

คำนวณผลการวัดโดยวิธีทางสถิติ

2. รู้และเข้าใจสูตรคำนวณทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับค่าความไม่แน่นอน

01QS30011.02 187816
01QS30012

รู้หลักการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

1. ระบุที่มาของค่าความไม่แน่นอนแบบเอ (Type A) และค่าความไม่แน่นอนแบบบี (Type B)

01QS30012.01 187817
01QS30012

รู้หลักการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

2. แปลงค่าความไม่แน่นอนต่างๆ ให้อยู่ในรูปค่าความไม่แน่นอนมาตรฐาน (standard uncertainty

01QS30012.02 187818
01QS30012

รู้หลักการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

3. การรวมค่าความไม่แน่นอนและการรายงาน

01QS30012.03 187819

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



 1. การใช้คำศัพท์มาตรวิทยาพื้นฐาน



 2. การประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ



 3. การใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมประยุกต์สำหรับการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



 1. คำศัพท์มาตรวิทยาพื้นฐาน



 2. สถิติเบื้องต้นสำหรับงานด้านมาตรวิทยา



 3. การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 N/A



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     N/A



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และสถิติเบื้องต้นสำหรับงานด้านมาตรวิทยาและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน



(ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



1. การวัดทุกประเภทจะมีค่าความไม่แน่นอนของการวัดเกิดขึ้นรวมอยู่ในผลลัพธ์การวัดเสมอ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้             



Measured value = True value + uncertainty



2. สูตรคำนวณทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับค่าความไม่แน่นอน เช่น สูตรในการคำนวณค่าเฉลี่ยของผลการวัด สูตรในการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรในการรวมค่าความไม่แน่นอน เป็นต้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



 ค่าความไม่แน่นอนของการวัดมี 2 แบบ ได้แก่




  1. ค่าความไม่แน่นอนของการวัดแบบเอ (Type A) คือ การประเมินองค์ประกอบของค่าความไม่แน่นอนของการวัดโดยการวิเคราะห์เชิงสถิติของค่าปริมาณที่วัดได้ ซึ่งได้มาภายใต้เงื่อนไขการวัดที่นิยามไว้

  2. ค่าความไม่แน่นอนของการวัดแบบบี (Type B) คือการประเมินองค์ประกอบของค่าความไม่แน่นอนของการวัดโดยหาจากวิธีการอื่นที่นอกเหนือไปจากการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดแบบเอ (Type A) เช่น ค่าความไม่แน่นอนจากเครื่องมือมาตรฐาน ค่าความไม่แน่นอนจากภาวะแวดล้อม ค่าความไม่แน่นอนจากวิธีการสอบเทียบ



(ค) เอกสารอ้างอิง



 1. JCGM 100 : 2008 Guide to the expression of uncertainty in measurement



 2 JCGM 200 : 2012 International vocabulary of metrology-Basic and general concepts and associated terms (VIM)



 3. M3003 The expression of uncertainty and confidence in measurement (Edition 5, September 2000)



 4. บทเรียนมาตรวิทยา โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2553


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาจากผลสอบข้อสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ