หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-DGQL-347B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้และความเข้าใจการทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ทฤษฎีความไม่แน่นอน และมีความสามารถในการประเมิน สามารถคาดการณ์ได้ถึงผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน โครงการ กระบวนการ กิจกรรม และสามารถบ่งชี้ จุดบกพร่องตลอดจนปัจจัยหรือตัวแปรที่ส่ง รวมถึงเสนอแนะวิธีการที่มีประสิทธิภาพ หรือการประยุกต์การใช้เครื่องมือกระบวนการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอันจำกัดขององค์กรได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)   3. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01CH60011

รับฟังปัญหา หรือข้อติดขัด อุปสรรค ในการดำเนินงาน ของผู้ปฏิบัติงาน

1.การรับฟังอย่างตั้งใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการ อธิบายปัญหา

01CH60011.01 190573
01CH60011

รับฟังปัญหา หรือข้อติดขัด อุปสรรค ในการดำเนินงาน ของผู้ปฏิบัติงาน

2.ระบุประเด็น ตีความ ข้อเท็จจริงที่ เกิดขึ้น ตามหลักของกระบวนการทดสอบ และ/หรือ สอบเทียบ

01CH60011.02 190574
01CH60011

รับฟังปัญหา หรือข้อติดขัด อุปสรรค ในการดำเนินงาน ของผู้ปฏิบัติงาน

3.ตั้งคำถาม เพื่อระบุต้นตอของปัญหา

01CH60011.03 190575
01CH60011

รับฟังปัญหา หรือข้อติดขัด อุปสรรค ในการดำเนินงาน ของผู้ปฏิบัติงาน

4. ตั้งสมมุติฐานของปัญหา โดยอ้างอิงจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

01CH60011.04 190576
01CH60012

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

1.ทดสอบสมมุติฐาน จนได้ข้อเท็จริง และระบุต้นตอของปัญหา 

01CH60012.01 190577
01CH60012

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

2.บ่งชี้ ปัจจัย ตัวแปร ที่เป็นสาเหตุ

01CH60012.02 190578
01CH60012

เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

3. คัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ที่สามารถอ้างอิงได้ จากความรู้ ประสบการณ์ หรือ แนวปฏิบัติที่ดี และ มีความยั่งยืน 

01CH60012.03 190579
01CH60013

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

1.ลำดับเหตุการณ์ ข้อสรุป และ ความเป็นมา สาเหตุ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องส่งผล ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

01CH60013.01 190580
01CH60013

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

2.ถ่ายทอด ความรู้ และวิธีทำ เพื่อให้ ผู้รับคำแนะนำปรึกษา สามารถเข้าใจ ได้

01CH60013.02 190581
01CH60013

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

3. ทบทวนความเข้าใจ ยืนยันผล ของการให้คำแนะนำ คำปรึกษา 

01CH60013.03 190582
01CH60014

ประเมิน กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย

1.ติดตามผล และ ประเมิน ระดับความเข้าใจ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่ได้

01CH60014.01 190583
01CH60014

ประเมิน กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย

2. คาดการณ์ถึงผลผลิต และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ให้คำแนะนำ

01CH60014.02 190584

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1. ความรู้เกี่ยวกับ การสอบเทียบ ทดสอบ เครื่องมือวัดสาขาเคมี

  2. ความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025

  3. ความรู้เกี่ยวกับ ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต

  4. ความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอรับรองมาตรฐาน เกณฑ์การตรวจประเมิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการสาขาทักษะ




  1. ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ

  2. ทักษะการสืบค้น และคัดกรองข้อมูล

  3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  4. ทักษะการวิเคราะห์ ประเมินโอกาสและความเสี่ยง

  5. ทักษะการนำเสนอ การทำสื่อเพื่อนำเสนอ

  6. ทักษะการสัมภาษณ์ และจับประเด็น

  7. ทักษะการเชื่อมโยง และการหาความเกี่ยวข้องข้ามศาสตร์

  8. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการสาขาความรู้




  1. ความรู้เกี่ยวกับตัวแปร ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ การทดสอบและสอบเทียบ

  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

  3. ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาระบบคุณภาพ TQM Kaizen Industrial 4.0 หรือที่เทียบเคียง

  4. ความรู้เกี่ยวกับ แหล่งข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ ในสาขางาน ที่ให้คำปรึกษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ หรือ



2. ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ



3. ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ประวัติการฝึกอบรม หรือวุฒิบัตรการฝึกอบรม



2. เอกสาร ผลงานการให้คำปรึกษา รายงานผลการวิเคราะห์ การอ้างอิง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



3. ผลการทดสอบ ประเมินผลสาขาความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ตรวจประเมินจากผลงานในอดีต หรือสัมภาษณ์ ถึงบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระดับของความมีส่วนร่วมในข้อคิดเห็น คำชี้แนะ ให้คำปรึกษา ซึ่งต้องอ้างอิงได้ถึงประสบการณ์ กรณีศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ แก้ปัญหานั้น หรือเพื่อนำเสนอ แนวปฏิบัติ หรือกิจกรรม หรือโครงการ



(ง) วิธีการประเมิน



1. โดยวิธีเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน หรือ



2. แฟ้มสะสมผลงาน พร้อมการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  •  



(ก) คำแนะนำ



ขอบเขตตามหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นขอบเขตตามบทบาทหน้าที่ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่จำเป็นจะต้อง ผสมผสานความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องคัดเลือก แม่แบบ หรือ ทฤษฎีที่มีความเหมาะสมตามสถานณ์การ ที่เอื้ออำนวย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด




  1.  



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การรับฟังอย่างตั้งใจ อาจหมายรวมถึง กระบวนการตอบสนองระหว่าง ผู้พูด และ ผู้ฟัง ได้แก่การพยักหน้า การตอบกลับ ทวนคำพูด การสังเกตุพฤติกรรมของผู้พูด น้ำเสียง สายตา ท่าทาง โดยไม่รบกวนการพูด 

  2. ระบุประเด็น อาจหมายรวมถึง กระบวนการในการจำแนก สกัด คำสำคัญ ที่เป็นตัวแปร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

  3. ตั้งคำถามระบุต้นตอของปัญหา อาจหมายรวมถึง การใช้ทฤษฎี Why Why Why 5W1H


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ผู้ขอเข้ารับการประเมิน ที่มี ประวัติการทำงานอย่างน้อย 10 ปี และมีผลการให้คำปรึกษา อย่างน้อย 10 ผลงานให้ยื่นหลักฐาน แฟ้มสะสมผลงาน อย่างน้อย ได้แก่ ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ และ ข้อเสนอ หรือ แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ หรือ ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง เทียบเท่าบริหารขั้นสูง หรือ 

  2. ผู้ขอเข้ารับการประเมิน ที่มี ประวัติการทำงานอย่างน้อย 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ยื่นหลักฐาน อย่างน้อย 3 ผลงาน ให้ยื่นหลักฐาน แฟ้มสะสมผลงาน อย่างน้อย ได้แก่ ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ และ ข้อเสนอ หรือ แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ หรือ ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง เทียบเท่าบริหารขั้นสูง หรือและ สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ