หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการข้อมูลภาพ (Data Pre-Processing) (Manage and analyze image data (Data Pre-Processing))

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-BMAY-493B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการข้อมูลภาพ (Data Pre-Processing) (Manage and analyze image data (Data Pre-Processing))

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลภาพ แสดงผลข้อมูลภาพ ปรับแก้ข้อมูลภาพ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302.01

แสดงผลข้อมูลภาพ 

(Image Enhancement)

1. แสดงภาพสีผสมธรรมชาติ (Natural-color composite)

2. แสดงภาพสีผสมเท็จ  (False-color image)

3. แสดงภาพสีผสมเทียม (Pseudo-color composite)


10302.01.01 188454
10302.02

ปรับแก้การแสดงผลข้อมูลภาพ

(Image Correction)

1. ปรับแก้เชิงเรขาคณิต (Geometric correction)

2. ปรับแก้เชิงรังสี (Radiometric correction) 


10302.02.01 188455

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด 

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน 

      N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ 

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

      1)    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถเข้าใจจัดทำและปรับปรุงข้อมูลภาพ ขั้นพื้นฐาน ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   การปรับปรุงภาพ เป็นกระบวนการในการแปลงข้อมูลภาพตัวเลขเพื่อที่จะสร้างภาพที่เน้นรายละเอียดที่ต้องการ หรือปรับโทนแสงที่ต้องการของภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลหรือรายละเอียดอื่นๆของภาพ เมื่อทำการปรับภาพจะมีการเน้นในข้อมูลบางส่วน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องตัดสินใจใช้วิธีการปรับปรงุภาพหลายๆ แบบในการทำงานครั้งหนึ่ง ซึ่งการปรับปรุงภาพแต่ละวิธี จะช่วยในการแปลภาพในแง่มุมที่แตกต่างกันในเนื้องาน หรือโครงการนั้นๆ

   ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องรู้ลักษณะการสะท้อนแสงของพื้นที่ที่ถ่ายภาพ และทราบถึงผลที่ได้จากการใช้วิธีต่างๆ ในการปรับปรุงภาพ เพราะมิฉะนั้นจะทำให้การแปลความหมายผิดไป หรือไปกดการแสดงผลที่สำคัญ การปรับปรุงภาพโดยการเน้นบางส่วน และลดบางส่วน จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสกัดการแสดงภาพที่สำคัญอย่างประหยัด ถูกต้อง และแม่นยำ แต่เนื่องจากการมอง เป็นผลทั้งจากสรีระและจิตวิทยา ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานแต่ะคนจะมีความชอบที่แตกต่างกันไป การเลือกประเภทของการแปลจะขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการมากมาย อีกประการหนึ่ง คือ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนวิธีการในการปรับภาพ ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ความหมายของสีที่แสดงออกมา ทางที่ดี คือ พยายามใช้วิธีการที่มีเท่าที่จำเป็น อย่าใช้หลายอย่างประกอบกัน มิฉะนั้นข้อมูลบางส่วนอาจจะหายไป ที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องมีจอสีที่มีคุณภาพสูง เร็ว และราคาถูกในการแสดงภาพ

    การแสดงผลข้อมูลภาพโดยทั่วไปการแสดงผลข้อมูลการรับรู้จากระยไกลที่ได้จากตัวตรวจวัดจะอาศัยช่วงคลื่นจำนวน 1 หรือ  3 ช่วง คลื่นสำหรับการประมวลผลเพื่อสร้างเป็นภาพเชิงเลขที่ต้องการ 

 1. ภาพขาวดำการแสดงผลภาพขาวดำมักใช้แสดงข้อมูลจากฃ่วงคลื่นใดช่วงคลื่นหนึ่งของตัวตรวจวัดโดยเฉพาะ เพื่อใช้พิจารณารายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงคลื่นของข้อมูลภาพ 

    2. ภาพสีผสม แบ่งออกเป็น 

   2.1 ภาพสีผสมธรรมชาติ อาศัยการผสมกันของข้อมูล 3 ช่วงคลื่น ประกอบด้วยช่วงคลื่นของแม่สีหลัก 3 สีได้แก่ แดง (R) เขียว (B) และ น้ำเงิน (B) ให้เป็นตัวแสดงผลข้อมูล ในช่วงคลื่นของตัวเอง ทำให้ได้ภาพสีที่มีลักษณะคล้ายกับที่ตามนุษย์มองเห็นตามปกติ  

   2.2 ภาพสีผสมเท็จ อาศัยการผสมกันของข้อมูล 3 ช่วงคลื่น ประกอบด้วยช่วงคลื่นของแม่สีหลัก 3 สีได้แก่ แดง (R) เขียว (B) และ น้ำเงิน (B) ให้เป็นตัวแสดงผลข้อมูลในช่วงคลื่นของตัวเองหรือของช่วงคลื่นอื่น ทำให้ได้ภาพสีที่มีลักษณะแตกต่างไปจากที่ตามนุษย์มองเห็นตามปกติ 

  2.3  ภาพสีผสมเทียม ภาพสีผสมเทียมจะต่างจากภาพสีผสมดังที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากเป็นภาพที่อาศัยข้อมูลเพียงช่วงคลื่นเดียวในการแสดงผลเหมือนกับภาพขาวดำ แต่มีการกำหนดสีที่แตกต่างกันให้สำหรับแต่ละช่วงของค่าความเข้มแสง (DN) เพื่อเน้นความแตกต่างของตัวข้อมูลซึ่งปรากฏบนภาพ

   การปรับแก้ข้อมูลภาพ ข้อมูลสัมผัสระยะไกลที่ได้รับจากเครื่องตรวจวัดอาจมีข้อบกพร่อง เช่น ข้อมูลขาดหายไป มีสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ มีความผิดพลาดทางเรขาคณิต เป็นต้น ข้อบกพร่องเหล่านี้อาจเกิดจากเครื่องตรวจวัด การเคลื่อนที่ที่ไม่คงที่ ผู้ปฎิบัติจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อมูลให้มีความถูกต้องก่อนนำไปใช้งาน ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลภาพก่อนนำไปใช้ เรียกว่า กระบวนการปรับแก้ข้อมูลภาพ หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า การแก้ไขก่อนวิเคราะห์ การปรับแก้ข้อมูลภาพมี 2 ประเภท ดังนี้

  1. การปรับแก้เชิงรังสี วัตถุประสงค์ของการปรับแก้ เพื่อให้ภาพมีข้อมูลการสะท้อนพลังงานที่มีความถูกต้อง ข้อมูลที่ผิดพลาด มีทั้งข้อมูลการสะท้อนที่ขาดหายไป หรือมีความสว่างของภาพมากเกินไป การกระจายของจุดภาพที่ผิดปกติในภาพ ภาพมืดเกินไป ข้อผิดพลาดเหล่านี้เกิดจากอุปกรณ์เครื่องตรวจวัด ตำแหน่งมุมความสูงของดวงอาทิตย์ และสภาพบรรยากาศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องตรวจวัดแต่ละชนิดด้วย

 2. การปรับแก้เชิงเรขาคณิต การปรับแก้ทางเรขาคณิต เป็นวิธีการแก้ไขข้อมูลดาวเทียมให้มีความถูกต้องทางด้านพื้นที่ มาตราส่วน และมีคุณสมบัติทางระบบพิกัดเหมือนแผนที่ โดยสามารถระบุให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงบนพื้นผิวโลก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการแสดงผลข้อมูลภาพ 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการปรับแก้ข้อมูลภาพ 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ