หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Provide geographic information)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-EPHX-499B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Provide geographic information)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถจัดทำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ จัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.01

จัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของข้อมูล

10201.01.01 188519
10201.01

จัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

2. กำหนดโจทย์หรือปัญหาของข้อมูล

10201.01.02 214645
10201.01

จัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

3. กำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล

10201.01.03 214646
10201.01

จัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

4. กำหนดข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแปลงข้อมูลคุณลักษณะ

10201.01.04 214647
10201.02

สร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์

1. สร้างข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) 


10201.02.01 188520
10201.02

สร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์

2. สร้างข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)

10201.02.02 214648
10201.02

สร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์

3. ทำสำเนาข้อมูลภาพ และแปลงเป็นข้อมูลดิจิตัลไฟล์ได้ระบุค่าพิกัดข้อมูลภาพกับระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์  (Georeferencer)

10201.02.03 214649

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

      2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถจัดทำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      กระบวนการในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System Procedure) สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

1)  การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective and Problem Recognition) การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดวัตถุประสงค์เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญที่สุดในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติที่ต้องการนำระบบ GIS เพื่อไปประยุกต์ใช้นั้น จะต้องทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ

2) การจัดเตรียมฐานข้อมูล (Database Preparation) ในการจัดเตรียมสถานข้อมูลประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ คือ

   การนำเข้าข้อมูล (Data Capture) การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นการแปลงข้อมูลเชิงพื้นที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลข (Digital Data) วิธีการที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน

    การตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล (Data Verification and Correction) ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เนื่องจากข้อมูลต่างๆที่จะนำไปดำเนินการในการวิเคราะห์ ไม่เช่นนั้นแล้วข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือการคำนวณมีความคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น

     การจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Data Storage in GIS Format) การจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ จุดเส้น หรือ โพลีกอน จะถูกจัดเก็บโดยอ้างอิงจากค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์เสมอ  

   การสร้างความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Spatial Topology) ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะของแต่ละข้อมูล (Each Graphic Object) ข้อมูลจะสามารถแสดงรายละเอียดของแต่ละข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์จะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และข้อมูลเชิงเฉพาะ (Attribute Data) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละข้อมูลนั้นๆเข้าด้วยกัน หลังจากการสร้างความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แล้วข้อมูลต่างๆจะสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว

   การจัดการฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System Database Management) ในการจัดเก็บข้อมูลจะดำเนินการโดยจัดสร้างเป็นฐานข้อมูล (Database) ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้งานที่ต้องการ โดยการจัดเก็บจะอยู่ในรูปแบบและลักษณะที่เชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงเฉพาะ(Attribute Data) หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Descriptive Data) ข้อมูลจะมีความถูกต้อง และรวดเร็วต่อการปรับแก้และเรียกใช้

3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีความสามารถในการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่หลายชั้นข้อมูลมาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์หรือตามแบบจำลอง (Model) หรือโมเดลทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ เนื่องจากชั้นข้อมูลต่างๆถูกจัดเก็บโดยอ้างอิงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์

4) การแสดงผลข้อมูล (Data Presentation) การแสดงผลจากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มักจะแสดงผลด้วยตัวอักษร (Texts) และรูปภาพ (Images) หรือใช้แสดงร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถแสดงผลในรูปของตาราง (Tables) และแผนภาพ (Charts) ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์มักจะนำไปใช้ในการทำแผนที่ต่างๆ



    ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Georeferencer) นิยมใช้ระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) หรือ UTM (Universal Transverse Mercator) ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจและสามารถอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เชื่อมโยงภาพดิจิตอลไฟล์ที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางกายภาพ เชื่อมโยงแผนที่หรือภาพแรสเตอร์ของแผนที่ ได้ตามวัตถุประสงค์ของงาน โครงการ ได้อย่างถูกต้องและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการจัดเตรียมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการสร้างข้อมูลทางภูมิศาสตร์

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ