หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ (Data Display)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-QFTX-487B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ (Data Display)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ (Data Display) นำเข้าข้อมูล (Add data) ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล ปรับแต่งสัญลักษณ์ กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล กำหนดระบบพิกัด (Coordinate System) และเรียกใช้งาน Web Map Service (WMS) เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.01

นำเข้าข้อมูล (Add data)

1. นำเข้าข้อมูลเชิงเส้น (Vector data input)

10102.01.01 188391
10102.01

นำเข้าข้อมูล (Add data)

2. นำเข้าข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data input)

10102.01.02 214494
10102.01

นำเข้าข้อมูล (Add data)

3. นำเข้าข้อมูลจาก GPS สู่คอมพิวเตอร์

10102.01.03 214495
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

1. เปลี่ยนชื่อข้อมูล

10102.02.01 188392
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

2. จัดการชั้นข้อมูลโปร่งแสง

10102.02.02 214500
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

3. แสดง Resolution ของรูปภาพ

10102.02.03 214501
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

4. ปรับสี และเส้นขอบนอก

10102.02.04 214502
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

5. กำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูลแผนที่ (Annotation)

10102.02.05 214503
10102.02

ปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

6. กำหนดป้ายข้อมูล (Label)

10102.02.06 214504
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

1. เปลี่ยนสัญลักษณ์ Symbology

10102.03.01 188393
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

2. แสดงป้ายข้อมูลและกำหนดข้อมูลตัวอักษณ (Label Feature)

10102.03.02 214508
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

3. แสดงสัญลักษณ์ข้อมูลแผนที่ (Legend Type)

10102.03.03 214509
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

4. กำหนดค่าสัญลักษณ์แบบแยกสีตามกลุ่ม (Categorized)

10102.03.04 214510
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

5. แยกระดับสัญลักษณ์ (Graduate Symbol)

10102.03.05 214511
10102.03

ปรับแต่งสัญลักษณ์

6. แยกระดับสี (Continuous Color)

10102.03.06 214512
10102.04

กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล

1. สร้าง Map Tip

10102.04.01 188394
10102.04

กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล

2. สร้าง Bookmarks

10102.04.02 214520
10102.04

กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล

3. สร้าง Hyperlink จากผลลัพธ์ของ Identify

10102.04.03 214521
10102.04

กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล

4. สร้าง Hyperlink โดยใช้ฟิลด์ในตาราง attribute

10102.04.04 214522
10102.05

กำหนดระบบพิกัด 

(Coordinate System)

1. กำหนดค่าระบบพิกัดให้กับแผนที่

10102.05.01 188395
10102.05

กำหนดระบบพิกัด 

(Coordinate System)

2. กำหนด Projection ให้กับชั้นข้อมูล

10102.05.02 214523
10102.05

กำหนดระบบพิกัด 

(Coordinate System)

3. แปลงระบบพิกัดแผนที่ให้กับชั้นข้อมูล

10102.05.03 214524
10102.06

เรียกใช้งาน 

Web Map Service (WMS)

1. เรียกใช้งาน Open Layer

10102.06.01 188396
10102.06

เรียกใช้งาน 

Web Map Service (WMS)

2. เรียกใช้งาน Quick Map Services

10102.06.02 214528
10102.06

เรียกใช้งาน 

Web Map Service (WMS)

3. เรียกใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต Web Map Service

10102.06.03 214529

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



 1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geo-information technology) ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ระบบนำเข้ามูล (Data input system) หมายรวมถึง ระบบนำเข้าข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) ซึ่งมีหน้าที่ในการแปลงข้อมูลจากข้อมูลเดิมที่มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงอุปมาน (Analogue data) เช่น ข้อมูลแผนที่ลายเส้น ข้อมูลของรูปถ่ายทางอากาศ และ/หรือข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียมให้กลายเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขอยู่ระหว่าง 0-255 ผลที่ได้ทำให้สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (High speed computer) ได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเชิงเส้น สามารนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศได้โดยใช้อุปกรณ์นำเข้าที่เรียกว่า ตัวแปลงเป็นตัวเลข (Digitizing tablet) ขณะที่ข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นแบบเชิงตาราง จะถูกนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องกราดภาพ ส่วนข้อมูลลักษณะประจำ ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเลขและตัวอักษรนั้น (Alpha-numeric data) จะถูกนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทางแป้นพิมพ์ตามปกติ

   การนำเข้าข้อมูลแบบเชิงเส้น (Vector data input) ข้อมูลเชิงเส้นจะถูกนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวแปลงเป็นเลข ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลักที่สำคัญ 3 ส่วน คือ  1) กระดานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic tablet) 2)  อุปกรณ์ชี้เล็งพร้อมปุ่มกดบังคบ (Pointing device หรือ Cursor with button) 3) อุปกรณ์จอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic display) ข้อมูลที่ถูกนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในรูปแบบของแผนที่จะถูกนำไปติดตั้งบนกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นผู้ปฏิบัติการ (Operator) จะใช้อุปกรณ์ตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) พร้อมที่เล็ง (Cross-hair) ทำการวางลงบนตำแหน่งของแผนที่ที่ต้องต้องจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และกดปุ่มบังคับที่ได้กำหนดไว้ข้อมูลในรูปของพิกัดของกระดานอิเล็กทรอนิกส์ก็จะถูกแสดงผลและส่งผ่านทางช่องรับ-ส่งข้อมูลแบบอนุกรมใช้ร่วม (Universal Serial Bus : USB) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรอการประมวลผลต่อไป ในกรณีที่ข้อมูลมีลักษณะเป็นเชิงเส้น (Arc) หรือ รูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำการบันทึกข้อมูลในแบบจุดต่อจุดไล่เรียงกันไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสุดท้ายหรือย้อนกลับมายังจุดแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้ง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มต้นเก็บข้อมูลของชุดใหม่ต่อไป การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแบบนี้เรียนกว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบทำด้วยมือ (Manual data capturing) ซึ่งเหมาะกับกรณีที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากและไม่ซับซ้อนเกินไป ในกรณีที่ข้อมูลค่อยข้างซับซ้อนและมีปริมาณมาก ผู้ปฏิบัติงานสามารถเลือกใช้อุปกรณ์อัตโนมัติที่เรียนกว่า เครื่องแปลงเป็นเลขสำหรับเส้นแบบอัตโนมัติ (Automatic line-follow digitizer) ก็ได้ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลของเส้นใดๆ บนแผนที่ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ

    การนำเข้าข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data input) ข้อมูลแรสเตอร์มักจะอยู่ในรูปของข้อมูลเขิงภาพ (Pictorial) เช่น รูปถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น ข้อมูลแรสเตอร์นี้สามารถนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้โดยการใช้อุปกรณ์แปลงข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องกราดภาพ อุปกรณ์กราดภาพประกอบด้วย แท่งทรงกระบอกกราดภาพ (Scanning cylinder) ที่ใช้ติดตั้งต้อมูลต้นฉบับและตาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic eye) ซึ่งจะเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวาขณะที่แท่งทรงกระบอกหมุนรอบด้วยความเร็วคงที่ ข้อมูลในลักษณะของระดับความเข้มของแสงจะถูกแปลงเป็นข้อมูลเชิงเลขในหน่วยของจุดภาพ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 สำหรับภาพขาว-ดำ และทำการแยกภาพสีออกเป็นแม่สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน สำหรับเครื่องกราดภาพสี (Color scanner) การนำเข้าข้อมูลแรสเตอร์นี้มีลักษณะเป็นการนำเข้าแบบอัตโนมัติ ผู้ปฏิบัติงานจะนำเอาภาพต้นฉบับที่ต้องการจะแปลงข้อมูลขึ้นติดตั้งบนแท่งทรงกระบอกกราดภาพ จากนั้นจะนำการเลือกค่าขนาดของหน่วยภาพที่เหมาะสมที่จะทำการแปลงข้อมูลเชิงภาพใช้เป็นข้อมูลเชิงเลข โดยทั่วไปหากจุดภาพมีขนาดเล็กก็จะยิ่งใหรายละเอียดสูงแต่ขนาดของแฟ้มข้อมูลจะมีขนาดใหญ่และใช้เวลาในการแปลงข้อมูลเป็นเวลานาน ในทางตรงกันข้ามหากจุดภาพมีขนาดใหญ่ แฟ้มข้อมูลที่ได้ก็จะมีขนาดเล็กและเวลาที่ใช้ในการแปลงข้อมูลก็จะรวดเร็วแต่รายละเอียดที่ได้จะต่ำ ดังนั้นการเลือกขนาดของจุดภาพที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพของการแปลงข้อมูล และสมควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ

   กำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล ผู้ปฏิบัติงานต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับเอกสารที่ต้องการ เช่น ไฟล์เอกสาร (.doc) ไฟล์เอกสารเพื่อการคำนวณ (.xls) ไฟล์วิดีโอ (.avi) text file , รูปภาพ หรือ URL ซึ่งจะเก็บ path ไว้ในฟิลด์ของ Attribute ในรูปแบบการสร้าง Hyperlink และต้องกำหนดระยะการขยายข้อมูลในพื้นที่ที่ต้องการในรูปแบบ Bookmarks ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินนำเข้าข้อมูล (Add data)

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการปรับคุณสมบัติของชั้นข้อมูล

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปรับแต่งสัญลักษณ์

     1.สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการกำหนดการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูล

     1.สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.5 เครื่องมือประเมินการกำหนดระบบพิกัด (Coordinate System)

     1.สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.6 เครื่องมือประเมินการเรียกใช้งาน Web Map Service (WMS)

     1.สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ