หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกระบวนการ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-DQDL-305B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกระบวนการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้และความเข้าใจการทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ทฤษฎีความไม่แน่นอน และมีความสามารถในการประเมิน สามารถคาดการณ์ได้ถึงผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน โครงการ กระบวนการ กิจกรรม และสามารถเสนอแนะวิธีการที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจเทคโนโลยี นวัตกรรมในสาขาที่เชี่ยวชาญ และสามารถประยุกต์การใช้เครื่องมือกระบวนการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอันจำกัดขององค์กรได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. เอกสารระบบการบริหารงานของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) 3. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01TE60021

ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน

1.ศึกษาทบทวน เอกสาร บันทึก ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

01TE60021.01 189074
01TE60021

ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน

2.สังเกตการณ์ ถึงการขั้นตอน วิธีการ กระบวนการปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติงานจริง

01TE60021.02 189075
01TE60021

ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน

3.สัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน ที่ดำเนินงานในตำแหน่งปฏิบัติงาน

01TE60021.03 189076
01TE60022

บ่งชี้ ทำรายการ จุดที่สามารถปรับปรุงได้

1.บ่งชี้ กิจกรรม วิธี หรือเครื่องมือ ที่ต้องการปรับปรุง

01TE60022.01 189077
01TE60022

บ่งชี้ ทำรายการ จุดที่สามารถปรับปรุงได้

2.จัดทำรายการ และเป้าประสงค์การปรับปรุง

01TE60022.02 189078
01TE60023

เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

1.กำหนดวิธีการปรับปรุง แบบแยกส่วน หรือ ปรับเปลี่ยนตลอดกระบวนการ

01TE60023.01 189079
01TE60023

เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

2.ออกแบบแนวปรับปรุง ที่สามารถอ้างอิงได้ จากความรู้ นวัตกรรมประสบการณ์ หรือ แนวปฏิบัติที่ดี

01TE60023.02 189080
01TE60023

เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

3.ประเมินความเสี่ยง และ ผลผลิตจากการปรับปรุง

01TE60023.03 189081
01TE60023

เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี

4.ประเมิน และคัดเลือกกิจกรรม วิธี หรือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สูงสุด 

01TE60023.04 189082
01TE60024

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

1.ลำดับเหตุการณ์ ข้อสรุป และ ความเป็น สาเหตุ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องส่งผล ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

01TE60024.01 189083
01TE60024

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

2.ทำความตกลงร่วมกับ หัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงกระบวนการวิธีการให้มีประสิทธิภาพ

01TE60024.02 189084
01TE60024

ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา

3.ถ่ายทอด ความรู้ และวิธีทำ เพื่อให้ ผู้รับคำแนะนำปรึกษา สามารถเข้าใจ ได้

01TE60024.03 189085
01TE60025

ประเมิน กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย

1.ติดตามผล และ ประเมิน ระดับความเข้าใจ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่ได้

01TE60025.01 189086
01TE60025

ประเมิน กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย

2.ทบทวนความเข้าใจ ยืนยันผล ของการให้คำแนะนำ คำปรึกษา

01TE60025.02 189087

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1. ความรู้เกี่ยวกับ การสอบเทียบ ทดสอบ เครื่องมือวัดสาขาอุณหภูมิ

  2. ความรู้เกี่ยวกับ การดำเนินธุรกิจ

  3. ความรู้เกี่ยวกับ ความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต

  4. ความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานอุตสาหกรรม และ การขอรับรองมาตรฐาน เกณฑ์การตรวจประเมิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



1. ทักษะการสืบค้น และคัดกรองข้อมูล



2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล



3. ทักษะการวิเคราะห์ ประเมินโอกาสและความเสี่ยง



4. ทักษะการนำเสนอ การทำสื่อเพื่อนำเสนอ



5. ทักษะการสัมภาษณ์ และจับประเด็น



6. ทักษะการเชื่อมโยง และการหาความเกี่ยวข้องข้ามศาสตร์



7. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



1. ความรู้ในการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัด



2. ความรู้เกี่ยวกับตัวแปร ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ การทดสอบและสอบเทียบ



3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง



4. ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาระบบการบริหารงาน TQM Kaizen Industrial 4.0 หรือที่เทียบเคียง



5. ความรู้เกี่ยวกับ แหล่งข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ ในสาขางาน ที่ให้คำปรึกษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ หรือ



2. ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ



3. ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ประวัติการฝึกอบรม หรือวุฒิบัตรการฝึกอบรม



2. เอกสาร ผลงานการให้คำปรึกษา รายงานผลการวิเคราะห์ การอ้างอิง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



3. ผลการทดสอบ ประเมินผลด้านความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ตรวจประเมินจากผลงานในอดีต หรือสัมภาษณ์ ถึงบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระดับของความมีส่วนร่วมในข้อคิดเห็น คำชี้แนะ ให้คำปรึกษา ซึ่งต้องอ้างอิงได้ถึงประสบการณ์ กรณีศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ แก้ปัญหานั้น หรือเพื่อนำเสนอ แนวปฏิบัติ หรือกิจกรรม หรือโครงการ



(ง) วิธีการประเมิน



1. โดยวิธีเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน หรือ



2. แฟ้มสะสมผลงาน พร้อมการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ขอบเขตตามหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นขอบเขตตามบทบาทหน้าที่ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จำเป็นจะต้อง ผสมผสานความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องคัดเลือก แม่แบบ หรือ ทฤษฎีที่มีความเหมาะสมตามสถานณ์การ ที่เอื้ออำนวย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



เอกสาร บันทึก ขั้นตอนการปฏิบัติงาน อาจหมายรวมถึง มาตรฐานการปฏิบัติงาน บันทึกรายงานผลการทดสอบ สอบเทียบ ทะเบียนการทดสอบหรือสอบเทียบ หรือบันทึกในรูปแบบอื่น ๆ ตามสภาพแวดล้อมอันจำกัดขององค์กร



สถานปฏิบัติงานจริง อาจหมายรวมถึง ห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด



วิธีการปรับปรุง อาจหมายรวมถึง การปรับปรุงโดยวิธีปรับกระบวนการ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับ ความสามารถในการลงทุน และ/หรือ ระดับความยอมรับได้ของ องค์กร กิจการในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ



การประเมิน และคัดเลือก อาจหมายรวมถึง การใช้ เทคนิควิธีการตัดสินใจ โดยวิธีการให้คะแนน (Scoring Model) การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย (Pro & Con) หรือการประยุกต์กระบวนการภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดขึ้น แต่จะต้องมีความสามารถชี้ชัด ชี้ขาด เพื่อดำเนินการตัดสินใจ โดยสามารถสื่อสารให้ผู้มีอำนาจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัดสินใจเห็นเชิงประจักษ์



ประเมินความเสี่ยง อาจหมายรวมถึง การใช้ขั้นตอน วิธีการบริหารความเสี่ยงได้แก่ การชี้บ่งความเสี่ยง ระดับความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น และ ระดับความเสียหาย/สูญเสีย ความรุนแรง ซึ่งอาจได้มาโดยวิธีการที่มีระเบียบวิธีชัดเจน หรือ การประเมินโดยสังเขปได้



ลำดับเหตุการณ์ หมายรวมถึง การใช้แม่แบบ ผังไหล (Flow Chart) IVI UML หรือ แม่แบบวิธีที่สามารถทำให้ ผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร สามารถเข้าใจร่วมกันได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ผู้ขอเข้ารับการประเมิน ที่มี ประวัติการทำงานอย่างน้อย 10 ปี และมีผลการให้คำปรึกษา อย่างน้อย 10 ผลงานให้ยื่นหลักฐาน แฟ้มสะสมผลงาน อย่างน้อย ได้แก่ ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ และ ข้อเสนอ หรือ แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ หรือ ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง เทียบเท่าบริหารขั้นสูง หรือ

  2. ผู้ขอเข้ารับการประเมิน ที่มี ประวัติการทำงานอย่างน้อย 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ยื่นหลักฐาน อย่างน้อย 3 ผลงาน ให้ยื่นหลักฐาน แฟ้มสะสมผลงาน อย่างน้อย ได้แก่ ใบสั่งจ้าง สัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือ หลักฐานที่เทียบเคียงได้ และ ข้อเสนอ หรือ แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ หรือ ผลงาน การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ชี้แนะ ประวัติผลงานในการดำเนินงาน ในตำแหน่ง เทียบเท่าบริหารขั้นสูง หรือและ สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ