หน่วยสมรรถนะ
ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกระบวนการ
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-QRRW-290B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกระบวนการ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้และความเข้าใจการทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ทฤษฎีความไม่แน่นอน และมีความสามารถในการประเมิน สามารถคาดการณ์ได้ถึงผลผลิต และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน โครงการ กระบวนการ กิจกรรม และสามารถเสนอแนะวิธีการที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจเทคโนโลยี นวัตกรรมในสาขาที่เชี่ยวชาญ และสามารถประยุกต์การใช้เครื่องมือกระบวนการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอันจำกัดขององค์กรได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. เอกสารระบบการบริหารงานของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) 3. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01MA60021 ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน |
1.ศึกษาทบทวน เอกสาร บันทึก ขั้นตอนการปฏิบัติงาน |
01MA60021.01 | 188967 |
01MA60021 ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน |
2.สังเกตการณ์ ถึงการขั้นตอน วิธีการ
กระบวนการปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติงานจริง |
01MA60021.02 | 188968 |
01MA60021 ทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน |
3.สัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน ที่ดำเนินงานในตำแหน่งปฏิบัติงาน |
01MA60021.03 | 188969 |
01MA60022 บ่งชี้
ทำรายการ จุดที่สามารถปรับปรุงได้ |
1.บ่งชี้ กิจกรรม วิธี หรือเครื่องมือ ที่ต้องการปรับปรุง |
01MA60022.01 | 188970 |
01MA60022 บ่งชี้
ทำรายการ จุดที่สามารถปรับปรุงได้ |
2.จัดทำรายการ และเป้าประสงค์การปรับปรุง |
01MA60022.02 | 188971 |
01MA60023 เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ
จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี |
1.กำหนดวิธีการปรับปรุง แบบแยกส่วน หรือ ปรับเปลี่ยนตลอดกระบวนการ |
01MA60023.01 | 188972 |
01MA60023 เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ
จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี |
2.ออกแบบแนวปรับปรุง ที่สามารถอ้างอิงได้ จากความรู้ นวัตกรรมประสบการณ์
หรือ แนวปฏิบัติที่ดี |
01MA60023.02 | 188973 |
01MA60023 เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ
จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี |
3.ประเมินความเสี่ยง และ ผลผลิตจากการปรับปรุง |
01MA60023.03 | 188974 |
01MA60023 เลือกแนวทางการยกระดับกระบวนการ
จากความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนแนว ปฏิบัติที่ดี |
4.ประเมิน และคัดเลือกกิจกรรม วิธี หรือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สูงสุด |
01MA60023.04 | 188975 |
01MA60024 ให้คำแนะนำ
คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา |
1.ลำดับเหตุการณ์ ข้อสรุป และ ความเป็น สาเหตุ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องส่งผล
ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น |
01MA60024.01 | 188980 |
01MA60024 ให้คำแนะนำ
คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา |
2.ทำความตกลงร่วมกับ หัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงกระบวนการวิธีการให้มีประสิทธิภาพ |
01MA60024.02 | 188981 |
01MA60024 ให้คำแนะนำ
คำปรึกษา ทำความเข้าใจ ต่อผู้รับคำปรึกษา |
3.ถ่ายทอด ความรู้ และวิธีทำ เพื่อให้ ผู้รับคำแนะนำปรึกษา สามารถเข้าใจ ได้ |
01MA60024.03 | 188982 |
01MA60025 ประเมิน
กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย |
1.ติดตามผล และ ประเมิน ระดับความเข้าใจ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่ได้ |
01MA60025.01 | 188978 |
01MA60025 ประเมิน
กระบวนการ ผลผลิตคาดการณ์ผลผลิตที่ได้รับ ความสอดคล้อง กับเป้าหมาย |
2.ทบทวนความเข้าใจ ยืนยันผล ของการให้คำแนะนำ คำปรึกษา |
01MA60025.02 | 188979 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
ตรวจประเมินจากผลงานในอดีต หรือสัมภาษณ์ ถึงบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระดับของความมีส่วนร่วมในข้อคิดเห็น คำชี้แนะ ให้คำปรึกษา ซึ่งต้องอ้างอิงได้ถึงประสบการณ์ กรณีศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ แก้ปัญหานั้น หรือเพื่อนำเสนอ แนวปฏิบัติ หรือกิจกรรม หรือโครงการ
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตตามหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นขอบเขตตามบทบาทหน้าที่ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จำเป็นจะต้อง ผสมผสานความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องคัดเลือก แม่แบบ หรือ ทฤษฎีที่มีความเหมาะสมตามสถานณ์การ ที่เอื้ออำนวย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เอกสาร บันทึก ขั้นตอนการปฏิบัติงาน อาจหมายรวมถึง มาตรฐานการปฏิบัติงาน บันทึกรายงานผลการทดสอบ สอบเทียบ ทะเบียนการทดสอบหรือสอบเทียบ หรือบันทึกในรูปแบบอื่น ๆ ตามสภาพแวดล้อมอันจำกัดขององค์กร สถานปฏิบัติงานจริง อาจหมายรวมถึง ห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด วิธีการปรับปรุง อาจหมายรวมถึง การปรับปรุงโดยวิธีปรับกระบวนการ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับ ความสามารถในการลงทุน และ/หรือ ระดับความยอมรับได้ของ องค์กร กิจการในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ การประเมิน และคัดเลือก อาจหมายรวมถึง การใช้ เทคนิควิธีการตัดสินใจ โดยวิธีการให้คะแนน (Scoring Model) การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย (Pro & Con) หรือการประยุกต์กระบวนการภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดขึ้น แต่จะต้องมีความสามารถชี้ชัด ชี้ขาด เพื่อดำเนินการตัดสินใจ โดยสามารถสื่อสารให้ผู้มีอำนาจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัดสินใจเห็นเชิงประจักษ์ ประเมินความเสี่ยง อาจหมายรวมถึง การใช้ขั้นตอน วิธีการบริหารความเสี่ยงได้แก่ การชี้บ่งความเสี่ยง ระดับความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น และ ระดับความเสียหาย/สูญเสีย ความรุนแรง ซึ่งอาจได้มาโดยวิธีการที่มีระเบียบวิธีชัดเจน หรือ การประเมินโดยสังเขปได้ ลำดับเหตุการณ์ หมายรวมถึง การใช้แม่แบบ ผังไหล (Flow Chart) IVI UML หรือ แม่แบบวิธีที่สามารถทำให้ ผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร สามารถเข้าใจร่วมกันได้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|