หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-PCXI-284B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบสาขามวล มีความเชี่ยวชาญและความสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน และแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวลและกำหนดแผนงานการปฏิบัติงานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01MA4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

1. จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025

01MA4AA31.01 188800
01MA4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

01MA4AA31.02 188801
01MA4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

3. สามารถจัดทำแผนงานที่ต้องจัดทำตามระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ

01MA4AA31.03 188802
01MA4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

4. สามารถจัดทำแบบบันทึกที่ใช้ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

01MA4AA31.04 188803
01MA4AA32

ประมาณความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

1. สามารถจัดทำเอกสารอ้างอิง การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01MA4AA32.01 188807
01MA4AA32

ประมาณความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

2. สามารถประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวลคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01MA4AA32.02 188808
01MA4AA32

ประมาณความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

3. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01MA4AA32.03 188809

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้และเข้าใจการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาสาขามวล



2. ระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



3. การประเมินความไม่แน่นอนในการวัดขั้นต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถระบุถึงเอกสารระดับต่างๆ ในระบบคุณภาพและความเชื่อมโยงของเอกสาร



2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงานและแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ



3. สามารถประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1. ความรู้ในการจัดทำเอกสารระดับต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



 2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด ระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบได้



 3. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการขอจัดทำเอกสาร การอนุมัติ และการประกาศใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการขอจัดทำเอกสาร



2. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน



3. แผนการปฏิบัติงาน




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

  2. บันทึกผลการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด




  • คำแนะนำในการประเมิน



 ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารขั้นตอนการสอบเทียบและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล พิจารณาจากผลสอบข้อสอบข้อเขียน สังเกตการณ์ปฏิบัติงาน และหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



3. เฝ้าสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ



2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)



3. การจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีการสอบเทียบที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



4. เครื่องมือวัดสาขามวลในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึงเครื่องมือวัดสาขามวลตามหน่วยสมรรถนะที่เลือก




  • คำอธิบายรายละเอียด


    1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ได้แก่ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือวิธีการที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้นซึ่งได้มีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้

    2. เครื่องมือมาตรฐานสาขามวล ได้แก่ ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (Standard Weight)

    3. เครื่องมือวัดสาขามวลประเภทเครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ และตุ้มน้ำหนัก คือเครื่องมือวัดที่ใช้เพื่อวัดน้ำหนักของวัสดุหรือชิ้นงานที่มากระทำ





(ค) เอกสารอ้างอิง




  1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

  2. UKAS LAB 14 Edition 7 November 2022 Guidance on the calibration of weighing machines used in testing and calibration laboratories

  3. (EURAMET Calibration Guide No. 18, version 4.0 Guidelines on the Calibration of Non-Automatic Weighing Instruments

  4. OIML R 111-1 Edition 2004 (E) Weights of classes E1, E2, F1, F2, M1, M1–2, M2, M2–3 and M3 Part 1: Metrological and technical requirements


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน



2. แฟ้มสะสมผลงาน



3. สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ