หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-BKBC-271B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า สามารถเตรียมแผนงาน การสอนงาน และประเมินผลสำหรับการให้คำแนะนำและ สอนงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับการสอนงานมีความเข้าใจและทำการสอบเทียบได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า ระดับ 4

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ- คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) - ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01EL4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

1. สามารถเรียงลำดับเนื้อหาสำหรับการสอนงานการสอบเทียบได้อย่างเหมาะสม

01EL4AA41.01 188542
01EL4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

2. สามารถจัดทำสื่อการสอนการ ได้อย่างเหมาะสม

01EL4AA41.02 188543
01EL4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

3. สามารถสอนการปฏิบัติงานการสอบเทียบได้สมบูรณ์

01EL4AA41.03 188544
01EL4AA42

ประเมินผลการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

1. สามารถประเมินผลก่อนการสอนงานการสอบเทียบได้อย่างเหมาะสม

01EL4AA42.01 188545
01EL4AA42

ประเมินผลการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า

2. สามารถประเมินผลหลังการสอนงานการสอบเทียบได้อย่างเหมาะสม

01EL4AA42.02 188546

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

 1. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า



 2. การทวนสอบและการวิเคราะห์ผลการสอบเทียบด้านไฟฟ้า



 3. การทวนสอบและการตรวจสอบเครื่องมือมาตรฐานสาขาไฟฟ้าระหว่างใช้งาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 (ก) ความต้องการด้านทักษะ



 1. การถ่ายทอดการปฏิบัติงานแบบการฝึกปฏิบัติงาน (on job training) และการประเมินผล



 2. การปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบ การทวนสอบ การตรวจสอบระหว่างใช้งานอย่างถูกต้อง



 3. ปฏิบัติตามระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 (ข) ความต้องการด้านความรู้



 1. มีความรู้ด้านการสอบเทียบ การทวนสอบ การตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้า



 2. มีความรู้มาตรวิทยาทั่วไป คณิตศาสตร์และสถิติ



 3. รู้ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. บันทึกการอบรม



 2. แบบประเมินการอบรม



 3. เอกสารสรุปการเปรียบเทียบผลการวัด



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. ผลการสอบข้อเขียน



 2. บันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 3. บันทึกแฟ้มสะสมผลงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและสอนงานด้านการสอบเทียบด้านไฟฟ้า



โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน



และหลักฐานความรู้



 



 (ง) วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ



 1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ



 2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



 1. วิธีสอบเทียบที่ใช้ในการสอนงาน เป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น หรือ เป็นวิธีที่อ้างอิงตามวิธี สอบเทียบมาตรฐาน ซึ่งได้มีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้ว สามารถใช้งานได้



 2. เครื่องมือมาตรฐานสาขาไฟฟ้าในระดับนี้ได้แก่เครื่องมือประเภท Multifunction Calibrator, Current Coil, Digital Multimeter, Standard Resistance, Standard Capacitance, Frequency Meter/Counter, Oscilloscope Calibrator เป็นต้น



 3. เครื่องมือวัดสาขาไฟฟ้าในระดับนี้ได้แก่เครื่องมือประเภท Multimeter, Clamp Meter, Watt Meter, Insulation Meter, Oscilloscope, (Voltage, Current, Frequency, Resistance, Capacitance) Generator, Temperature Simulator/Indicator (TC, RTD) เป็นต้น



 (ค) เอกสารอ้างอิง



 1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration Laboratories



 2. Euramet cg-15 Version 3.0 (02/2015) Guidelines on the Calibration of Digital Clamp Meters



 3. NSC-ONSC GLA-24 (2/04/2562) ข้อแนะนำการตีความและการนำ Euramet cg-15 ไปใช้สอบเทียบดิจิตอลมัลติมิเตอร์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 2.1. ณ องค์กรรับรอง



 2.2. ณ สถานประกอบการ



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ