หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-IIKU-253B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ (ISCO-08 Thai version)


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ สามารถเตรียมแผนงาน การสอนงาน และประเมินผลสำหรับการให้คำแนะนำและ สอนงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับการสอนงานมีความเข้าใจและทำการสอบเทียบได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ- คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) - ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01DM4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

1. สามารถเรียงลำดับเนื้อหาสำหรับการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้อย่างเหมาะสม

01DM4AA41.01 188141
01DM4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

2. สามารถจัดทำสื่อการสอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้อย่างเหมาะสม

01DM4AA41.02 188142
01DM4AA41

เตรียมแผนและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

3. สามารถสอนการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้สมบูรณ์

01DM4AA41.03 188143
01DM4AA42

ประเมินผลการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

1. สามารถประเมินผลก่อนการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้อย่างเหมาะสม

01DM4AA42.01 188144
01DM4AA42

ประเมินผลการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

2. สามารถประเมินผลหลังการสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้อย่างเหมาะสม

01DM4AA42.02 188145

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ



2. การเตรียมแผนงาน การจัดทำสื่อการสอนงาน และประเมินผล



3. ระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



 1. สามารถการถ่ายทอดการปฏิบัติงานแบบการฝึกปฏิบัติงาน (on job training) การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ และการประเมินผล



 2. สามารถจัดทำสื่อการสอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล



 3. สามารถปฏิบัติตามระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 (ข) ความต้องการด้านความรู้



 1. ความรู้ด้านการสอบเทียบ การทวนสอบ การตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือวัดสาขามิติ



 2. ความรู้ในการเตรียมแผนงาน การสอนงาน และประเมินผล



 3. ความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. บันทึกการอบรม



 2. แบบประเมินการอบรม



 3. เอกสารสรุปการเปรียบเทียบผลการวัด



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. ผลการสอบข้อเขียน



 2. บันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและสอนงานด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียนและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ



วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ที่ใช้ในการสอนงานเป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น หรือ เป็นวิธีที่อ้างอิงตามวิธีการมาตรฐาน



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือวัดสาขามิติ หมายถึง Outside micrometer, Vernier Caliper, Dial gauge, Dial test indicator ,Height gauge, Steel ruler, Steel tape, Inside micrometer, Parallel thread plug gauge, Profile projector, Measuring microscope

  2. เครื่องมือมาตรฐาน หมายถึง Gauge block, Optical flat, Optical parallel, ULM, Dial gauge tester, Steel ruler, Glass scale, Standard glass scale, 3-wire units

  3. มาตรฐานสากล หมายถึง มาตรฐานระดับชาติ หรือ มาตรฐานระดับนานาชาติ

  4. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ หมายถึงการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ตามขั้นตอนการสอบเทียบตามมาตรฐานสากล



 (ค) เอกสารอ้างอิง




  1.  ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

  2.  JCGM 100:2008 Evaluation of measurement data — Guide to the expression of uncertainty in measurement

  3.  JCGM 200:2012 International vocabulary of metrology – Basic and general concepts and associated terms (VIM), 3rd edition

  4. M3003:2022 The Expression of Uncertainty and Confidence in Measurement, 5th edition

  5.  ILAC G8:09/2019 Guidelines on decision rules and statements of conformity

  6.  UKAS LAB 48 Decision rules and statements of conformity (Edition 4, April 2022)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ