หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-VNQM-252B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ (ISCO-08 Thai version)


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบสาขามิติ มีความเชี่ยวชาญและความสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน และแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ และกำหนดแผนงานการปฏิบัติงานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามวล ระดับ 4

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) 3. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01DM4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

1. จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025

01DM4AA31.01 188134
01DM4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

2. จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

01DM4AA31.02 188135
01DM4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

3. จัดทำแผนงานที่ต้องจัดทำตามระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ

01DM4AA31.03 188136
01DM4AA31

จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

4. จัดทำแบบบันทึกที่ใช้ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

01DM4AA31.04 188137
01DM4AA32

ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

1. จัดทำเอกสารอ้างอิง การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01DM4AA32.01 188138
01DM4AA32

ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

2. ประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01DM4AA32.02 188139
01DM4AA32

ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

3. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ประเภท ไมโครมิเตอร์ ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ

01DM4AA32.03 188140

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้และเข้าใจการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ



2. ระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



3. การประเมินความไม่แน่นอนในการวัดขั้นต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



1. สามารถระบุถึงเอกสารระดับต่างๆ ในระบบคุณภาพและความเชื่อมโยงเอกสาร



2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงานและแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ



3. การประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



1. การจัดทำเอกสารระดับต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC17025



2. เข้าใจวิธีประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบได้



3. เข้าใจขั้นตอนการขอจัดทำเอกสาร การอนุมัติ การประกาศใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการขอจัดทำเอกสาร



2. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน



3. แผนการปฏิบัติงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



2. บันทึกผลการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารขั้นตอนการสอบเทียบและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ โดยพิจารณาจากผลสอบข้อสอบข้อเขียน สังเกตการณ์ปฏิบัติงาน และหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



3. เฝ้าสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ



1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ



2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)



3. การจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีการสอบเทียบที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



4. เครื่องมือวัดสาขามวลในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึงเครื่องมือวัดสาขามวลตามหน่วยสมรรถนะที่เลือก



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือวัดสาขามิติ หมายถึง Outside micrometer, Vernier Caliper, Dial gauge, Dial test indicator ,Height gauge, Steel ruler, Steel tape, Inside micrometer, Parallel thread plug gauge, Profile projector, Measuring microscope

  2. เครื่องมือมาตรฐาน หมายถึง Gauge block, Optical flat, Optical parallel, ULM, Dial gauge tester, Steel ruler, Glass scale, Standard glass scale, 3-wire units

  3. มาตรฐานสากล หมายถึง มาตรฐานระดับชาติ หรือ มาตรฐานระดับนานาชาติ

  4. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ หมายถึงการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ตามขั้นตอนการสอบเทียบตามมาตรฐานสากล



(ค) เอกสารอ้างอิง




  1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



3. สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ