หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อธิบายการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติแก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-UGNP-241B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อธิบายการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติแก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ (ISCO-08 Thai version)


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
 ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือวัดสาขามิติ ประเภท Outside micrometer ในหัวข้อขั้นตอนการสอบเทียบ การใช้งานการดูแลรักษาการจัดเก็บและการขนย้าย รวมถึงสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่แสดงในใบรับรองผลการสอบเทียบให้แก่ผู้มาขอใช้บริการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01DM3AA31

อธิบายเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

1. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวัดสาขามิติได้

01DM3AA31.01 187871
01DM3AA31

อธิบายเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

2. อธิบายขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

01DM3AA31.02 187872
01DM3AA32

อธิบายเกี่ยวกับการรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

1. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ ที่รายงานได้

01DM3AA32.01 187873
01DM3AA32

อธิบายเกี่ยวกับการรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ 

2. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือวัดสาขามิติ ที่รายงานผลการสอบเทียบได้

01DM3AA32.02 187874

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

 สามารถเข้าใจขั้นตอน รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ เครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม การใช้งาน การดูแล การรักษาเครื่องมือ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 ก. ความต้องการด้านทักษะ



 1. การใช้งานและการดูแลรักษา การจัดเก็บ การขนย้าย เครื่องมือวัดและเครื่องมือมาตรฐานสาขามิติ



 2. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ข. ความต้องการด้านความรู้



 1. รู้เกี่ยวกับการใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องมือวัดสาขามิติ



 2. รู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ



 3. รู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงไว้ในใบรับรองผลการสอบเทียบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 ก. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. บันทึกการตอบคำถาม หรือ เอกสารตอบกลับ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)



 2. เอกสารมอบหมายงานให้เป็นผู้ประสานงานกับผู้ขอรับบริการ



 ข. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. บันทึกประกอบการสัมภาษณ์



 ค. คำแนะนำในการประเมิน



 ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการอธิบายการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขามิติ โดยพิจารณาจากผลการสัมภาษณ์



ง. วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาจากบันทึกประกอบการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

 ก. คำแนะนำ



 N/A



 ข. คำอธิบายรายละเอียด



 1. จุดประสงค์ของหน่วยสมรรถนะนี้ คือต้องการให้สามารถอธิบายให้ผู้มารับบริการเลือกใช้การบริการได้ถูกต้อง ตลอดจนอธิบายผลของการสอบเทียบให้แก่ผู้มารับบริการให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน



2. เครื่องมือวัดสาขามิติ หมายถึง Outside micrometer, Vernier Caliper, Dial gauge, Dial test indicator, Height gauge, Steel ruler, Steel tape, Inside micrometer, Parallel thread plug gauge, Profile projector, Measuring microscope


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 1. พิจารณาจากบันทึกประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ