หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-LJPA-046B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3211 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ อันได้แก่ การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัย ในการแต่งกาย การจัดเก็บ และป้องกันอันตรายจากสารเคมี การจัดการของเสีย การทำความสะอาด อุปกรณ์เครื่องมือ ตามวิธีการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคนิคการสัตวแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.เกณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 25502.มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 25533. มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 25624.มาตรฐานห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 25625.ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10307.01 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

1. วางแผนข้อกำหนดในการแต่งกายตามการป้องกันกายส่วนบุคคล

10307.01.01 187436
10307.01 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

2. วางแผนการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัย ในการจัดเก็บ และป้องกันอันตรายจากสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ

10307.01.02 187437
10307.01 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

3. กำหนดข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีหกรั่วไหล

10307.01.03 187438
10307.02 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1. วางแผนในการกำหนดข้อปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการ (Good lab Practice)

10307.02.01 187439
10307.02 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2. วางแผนในการกำหนดข้อปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (BioSafety)

10307.02.02 187440
10307.02 วางแผนทางการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

3. วางแผนในการกำหนการดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio Security)

10307.02.03 187441
10307.03 จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

1. จัดเตรียมภาชนะสำหรับรองรับขยะแต่ละประเภทให้เพียงพอ

10307.03.01 187442
10307.03 จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

2. คัดแยกของเสียทางห้องปฏิบัติการในการจัดการขยะแต่ละประเภท

10307.03.02 187443
10307.03 จัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

3. นำส่งของเสียเพื่อเข้าสู่ขบวนการกำจัดได้ถูกต้อง

10307.03.03 187444
10307.04 ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
1. สอบเทียบเบื้องต้น (Routine calibration) เครื่องมือ และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
10307.04.01 187445
10307.04 ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
2. ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการหลังการสอบเทียบเบื้องต้น
10307.04.02 187446

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการทดสอบความแม่นยำของอุปกรณ์ภายในห้องปฏิบัติการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางด้านการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน

2. ความรู้ทางด้านการจัดการขยะในแต่ละประเภท

3. ความรู้ทางด้านการทำงานของเครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ(Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

 1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

 2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

 3.เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพนักเทคนิคการสัตวแพทย์ ระดับ 5 (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ผลการทดสอบความรู้

  2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

  3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

  1.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

      การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษาภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแลของนายสัตวแพทย์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หมายถึง การดำเนินการในการทำงานโดยยึดความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน

     2. หลักปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการ (Good lab Practice) หมายถึง หลักปฏิบัติการระบบคุณภาพที่ช่วยจัดการห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐาน

     3. หลักความปลอดภัยทางชีวภาพ (BioSafety) หมายถึง หลักปฏิบัติการการดำเนินป้องกันอันตราย ลดความเสี่ยงจากสารชีวภาพ

     4. ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio Security)หมายถึง หลักปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกจากสารชีวภาพ

     5. ขยะติดเชื้อ หมายถึง ขยะที่เกิดจากการตรวจวินิจฉัย รักษาสัตว์ เป็นสารหรือวัสดุที่ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ ซึ่งมีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยสิ่งที่ก่อให้เกิดโรค ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตมนุษย์ ได้แก่ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วนอวัยวะ หรือสิ่งขับถ่าย ของเหลวจากร่างกายสัตว์ เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด รวมทั้งสิ่งของหรือเครื่องใช้สำหรับสัตว์หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกทิ้งจากสถานประกอบการและสถานประกอบการอื่นๆ

      6. ขยะอันตราย หมายถึง ขยะ วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุสารอันตรายที่มีลักษณะเป็น สารพิษ สารไวไฟ สารเคมีที่กัดกร่อนได้ สารกัมมันตรังสี สารที่ทำให้เกิดโรค และมีเชื้อโรคปะปนอยู่ เป็นต้น. 

      7. ขยะจากสารเคมี หมายถึง สิ่งเหลือใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี สารเคมีที่ไม่ทราบชื่อ สารเคมีที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ สารเคมีที่หกรั่วไหลและเก็บกลับคืนมา ซึ่งประกอบไปด้วยสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเข้มข้นเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม หากขาดการจัดการที่เหมาะสมแล้ว จะเกิดปัญหาต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยมีลักษณะเป็นของเสียที่ลุกติดไฟได้ ของเสียประเภทกัดกร่อนของเสียที่ไวต่อปฏิกิริยาของเสียที่เป็นพิษ เป็นต้น

        8. สอบเทียบเบื้องต้น(Routine calibration) หมายถึง การดำเนินการเพื่อหาความสัมพนัธ์ระหว่างค่าที่เครื่องมือวัดบอกหรือระบบการวัดหรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดกับค่าจริงที่ยอมรับร่วมกัน (Conventional True Value) ว่าคลาดเคลื่อนไปมากเท่าใด โดยเริ่มจากการสอบเทียบเครื่องมือกับเครื่องมือมาตรฐานที่คลาดเคลื่อนน้อยกว่ารวมถึงการสอบเทียบเครื่องมือที่มาตรฐานสูงกว่า จนถึงการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานสูงสุดกับมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

      1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

      2) แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติการ

      3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ