หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยนายสัตวแพทย์ทำหัตถการพิเศษด้านการทำคลอด

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-DVVE-037B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยนายสัตวแพทย์ทำหัตถการพิเศษด้านการทำคลอด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานการการหัตถการพิเศษด้านการช่วยทำคลอด ได้แก่ การช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ) การช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด) ได้อย่างปลอดและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการทำงานของนายสัตวแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทยปี 25532. หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ.25553. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.25454. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10208.01 ช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

1. เตรียมสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ช่วยคลอด 



10208.01.01 187357
10208.01 ช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

2. เฝ้าสังเกตขณะที่สัตว์เริ่มคลอดขณะคลอดและหลังคลอด

10208.01.02 187358
10208.01 ช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

3. ฉีกรก เช็ดตัว ดูดน้ำคล่ำจากจมูก ตัดสายสะดือ กระตุ้นการหายใจ และกระตุ้นการขับถ่าย


10208.01.03 187359
10208.01 ช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

4. ชั่งน้ำหนัก จับลูกเข้าเต้ากระตุ้นการกินนม

10208.01.04 187360
10208.01 ช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

5. ทำการบันทึกน้ำหนักและข้อมูลลูกสัตว์ Label ลำดับและติด Tag ของลูกสัตว์แต่ละตัว


10208.01.05 187361
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

1. เตรียมห้องผ่าตัด (ผ่าคลอด) 

10208.02.01 187362
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ช่วยคลอด (กรณีผ่าคลอด) 

10208.02.02 187363
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

3. เตรียมตัวแม่สัตว์ให้พร้อมสำหรับการผ่าคลอด

10208.02.03 187364
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

4. รับลูกสัตว์จากนายสัตวแพทย์ที่ผ่าคลอด

10208.02.04 187365
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

5. ฉีกรก เช็ดตัว ดูดน้ำคล่ำจากจมูก ตัดสายสะดือ กระตุ้นการหายใจ และกระตุ้นการขับถ่าย 

10208.02.05 187366
10208.02 ช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

6. ชั่งน้ำหนัก ทำการบันทึกน้ำหนักและข้อมูลลูกสัตว์ Label ลำดับและติดTagของลูกสัตว์แต่ละตัว

10208.02.06 187367
10208.03 ดูแลอนุบาลสัตว์หลังการทำคลอดธรรมชาติและผ่าตัด

1. จับลูกเข้าเต้าเพื่อฝึกการกินนมแม่


10208.03.01 187368
10208.03 ดูแลอนุบาลสัตว์หลังการทำคลอดธรรมชาติและผ่าตัด

2. ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ลูกสัตว์ไม่สามารถดูดนมได้

10208.03.02 187369
10208.03 ดูแลอนุบาลสัตว์หลังการทำคลอดธรรมชาติและผ่าตัด

3. อนุบาลลูกสัตว์แรกเกิด


10208.03.03 187370

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10201  เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และดูแลสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของ   นายสัตวแพทย์

10202    บริหารจัดการยาเวชภัณฑ์    และวัสดุทางการแพทย์ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์    ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการช่วยทำคลอด (กรณีคลอดธรรมชาติ)

2. มีทักษะการช่วยทำคลอด (กรณีผ่าคลอด)

3. มีทักษะในการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าคลอดธรรมชาติและผ่าตัด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การช่วยทำคลอดธรรมชาติ

2. ความรู้การช่วยทำผ่าตัด

3. ความรู้อุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าคลอดธรรมชาติและผ่าตัด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

       2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

      3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพพยาบาลสัตว์ ระดับ 5

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการทดสอบความรู้

        2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

        3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

      (ง) วิธีการประเมิน

    1.ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

          2.ทดสอบการปฎิบัติการ

 



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

       การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1.ข้อมูลลูกสัตว์ Label หมายถึงการระบุรายละเอียดเช่น ชื่อแม่หมา วันที่คลอด นายสัตวแพทย์ที่ทำคลอดเป็นต้น ของลูกสัตว์ที่คลอด การติดป้ายชื่อเพื่อระบุตัวตนของสัตว์เลี้ยงที่คลอด

       2.หลักพยาบาล หมายถึง การดูแลช่วยเหลือทางการพยาบาล เช่น การตวจวัดสัญญาณชีพเบื้องต้น การป้อนยาและทำหัตถการต่างๆ ภายใต้คำสั่งของนายสัตวแพทย์ การดูแลทางด้านสภาพจิตใจของสัตว์ในแต่ละประเภท เป็นต้น        3. ดูแลอนุบาลสัตว์หลังการทำคลอด หมายถึง การดูแลสัตว์แรกเกิดทางด้านการให้อาหาร กรให้ความอบอุ่นตลอดจนการทำความสะอาดเพื่อให้สัตว์แรกเกิดสามารถช่วยเหลือตนเอง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

          1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

          2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ