หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ทำหัตถการพิเศษด้านการกู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉินตามหลักพยาบาล

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-JZNM-035B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ช่วยเหลือนายสัตวแพทย์ทำหัตถการพิเศษด้านการกู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉินตามหลักพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานการกู้ชีพสัตว์ป่วยและการช่วยเหลือสัตว์ป่วยฉุกเฉินตามหลักการและปลอดภัย อย่างมีความชำนาญ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.มาตรฐานสถานประกอบการสัตว์ในประเทศไทยปี 25532.หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ.25553.พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.25454.คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10206.01 เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

1. เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการจัดการภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น

10206.01.01 187345
10206.01 เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

2. ทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการภาวะฉุกเฉิน



10206.01.02 187346
10206.02 กู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

1. กู้ชีพสัตว์ป่วยที่มีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจหยุดทำงาน

10206.02.01 187347
10206.02 กู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

2. ใช้อุปกรณ์กู้ชีพประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

10206.02.02 187348
10206.02 กู้ชีพสัตว์ป่วยฉุกเฉิน

3. เฝ้าระวังสัญญาณชีพสัตว์ป่วย

10206.02.03 187349

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10201 เตรียมวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และดูแลสัตว์ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์

10202 บริหารจัดการยาเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ตามแผนการรักษาของนายสัตวแพทย์ความรู้และทักษะทางด้านการพยาบาลสัตว์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะในการดูแลสัตว์ป่วยในโรคต่างๆ

2.มีทักษะทางด้านการใช้อุปกรณ์ตรวจสัญญาณชีพ

3.มีทักษาะในด้านการเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุทางการแพทย์

4.มีทักษะในการคัดกรองสัตว์

5.มีทักษะในการให้ยาระงับประสาท

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจร่างกายและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นทั่วไป

2.ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดสัญญาณชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.ความรู้ทางด้านระบบสรีวิทยาของร่างกายสัตว์เลี้ยง

4.ความรู้ทางด้านอธิบายการเกิดโรคภาวะต่างของสัตว์

5.ความรู้ทางด้านหลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

             หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         1.ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

         2.เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

         3.เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพพยาบาลสัตว์ ระดับ 5 (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         1.ผลการทดสอบความรู้

         2.เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

         3.วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

             ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

  (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

      การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษา ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1.กู้ชีพสัตว์ป่วยหมายถึงการช่วยชีวิตสัตว์ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ ให้กลับมามีชีวิต แบ่งการช่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สัตว์ที่มีน้ำหนักน้อย และสัตว์ที่มีน้ำหนักมาก มีขั้นตอนดังนี้

         1.1 ให้สัตวป่วยนอนบนพื้นราบเรียบ โดยให้เอาด้านขวาลงพื้น ดึงลิ้นให้อยู่แนวกลางปากและดันเก็บเข้าช่องปากและปิดปากให้แน่น (กันลมรั่ว)

         1.2 ทำมือเป็นรูปถ้วย(ห่อมือ) จับบริเวณหัวใจไว้โดยให้นิ้วโป้งไปล็อคกับอกอีกข้างที่ตรงกันข้ามกับนิ้วทั้งสี่ เท่ากับฝ่ามือประคองทั้งอกบริเวณหัวใจทั้งซ้ายขวา

         1.3 กดช่องอกบริเวณ 1/3-1/4 ของความกว้างอก นับให้ได้ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที

         1.4 เป่าลมโดยเป่าเข้าทางจมูกด้านใดด้านหนึ่งและปิดอีกด้านไว้(ใช้แค่รูจมูกเดียว) โดยเป่าลมให้ 1 ครั้งต่อการกด 5 ที หากมีคนช่วยทำ CPR มากกว่า 1 คน ให้เป่าลม 1 ครั้งต่อการนวด 2-3 ที

        1.5 ทำCPR ไปเรื่อยๆต่อเนื่องจนกว่าสัตว์ป่วยจะเริ่มหายใจได้เอง และชีพจรกลับคืนมา

    2. การจัดการภาวะฉุกเฉิน หมายถึง การช่วยเหลือสัตว์ป่วยที่ประสบภาวะฉุกเฉิน เช่น รถชน ตกจากที่สูง หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่มีอันตรายถึงชีวิต

    3. หลักพยาบาล หมายถึง การกระทำในการช่วยเหลือดูแลสัตว์ป่วยเพื่อบรรเทาอาการโรคและ/หรือยับยั้งการลุกลามของโรค รวมถึงการประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัยและการป้องกันโรค ทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และศิลปะการพยาบาล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

                   1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

                   2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ