หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ของห้องผ่าตัดก่อนและหลังการผ่าตัด ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-HGXS-027B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ของห้องผ่าตัดก่อนและหลังการผ่าตัด ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3227 ผู้ช่วยสัตวแพทย์ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนด้านศัลยกรรมผ่าตัด ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ อันได้แก่ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการผ่าตัด การทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือตามหลักการปลอดเชื้อ การดูแลรักษาอุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัด การเตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด การดูแลบาดแผลของสัตว์หลังการผ่าตัด และการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ผ่าตัดเพิ่มเติมระหว่างการผ่าตัดตามที่นายสัตวแพทย์มอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25452. พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 25253. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10105.01 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์  และเครื่องมือในการผ่าตัด 

10105.01.01 187282
10105.01 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ ตามหลักการปลอดเชื้อ 




10105.01.02 187283
10105.01 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

3. ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

10105.01.03 187284
10105.01 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

4. เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด



10105.01.04 187285
10105.01 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

5. ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ห้องผ่าตัดก่อนและหลังผ่าตัด



10105.01.05 187286
10105.02 เตรียมตัวสัตว์ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและออกจากห้องผ่าตัด

1. งดน้ำงดอาหารสัตว์ ตามที่นายสัตวแพทย์มอบหมาย

10105.02.01 187287
10105.02 เตรียมตัวสัตว์ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและออกจากห้องผ่าตัด

2. เตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด 

10105.02.02 187288
10105.02 เตรียมตัวสัตว์ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและออกจากห้องผ่าตัด

3. ดูแลบาดแผลของสัตว์หลังการผ่าตัด

10105.02.03 187289
10105.02 เตรียมตัวสัตว์ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและออกจากห้องผ่าตัด

4. ทำความสะอาดสารคัดหลั่งและของเสียของสัตว์ป่วยหลังการผ่าตัด

10105.02.04 187290

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะการดูแลเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐาน

2. ความรู้และทักษะด้านการทำความสะอาดเครื่องมือเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  มีทักษะในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่นายสัตวแพทย์มอบหมาย

2.  มีทักษะในการเตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการผ่าตัด

3.  มีทักษะในการจับหรือเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัด

2.  ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเก็บเครื่องมือที่ปราศจากการติดเชื้อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

     2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

      การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ หมายถึง การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการผ่าตัดให้พร้อมก่อนการผ่าตัด พร้อมเช็คสภาพการใช้งานและฆ่าเชื้อก่อนการผ่าตัด โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัด คือ Oxygen supply เครื่องดมยาสลบระบบ scavenging สำหรับแก๊สทิ้งจากระบบวางยาสลบยาฉุกเฉินปัตตาเลี่ยนตัดขน หรือใบมีดโกนเครื่องดูดขนสัตว์โต๊ะทำความสะอาดตัวสัตว์ มีดสำหรับผ่าตัด ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     2. การทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือ หมายถึง การทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือให้ปลอดเชื้อก่อนทำการผ่าตัด โดยการห่อและฆ่าเชื้อด้วยวิธี autoclave,ethylene oxide,plasmahydrogen peroxideหรือวิธีที่น่าเชื่อถืออื่น ๆอย่างเหมาะสม ก่อนใช้งานทุกครั้ง ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของ นายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     3. การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือ หมายถึง การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมสำหรับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจสภาพ ทำความสะอาดที่ถูกวิธีหลังการใช้งาน ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     4. การเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ หมายถึง การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือภายในสถานที่เก็บที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อการหยิบกลับมาใช้งานใหม่และผู้ใช้อุปกรณ์ มีความเป็นระเบียบ เช่น เก็บไว้ในตู้เก็บ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     5. การเตรียมตัวสัตว์ป่วย หมายถึง เตรียมตัวสัตว์ให้พร้อมก่อนการผ่าตัด โดยมีการทำความสะอาด ตัดขน และงดให้น้ำและอาหารแก่สัตว์ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     6. การดูแลบาดแผล หมายถึง ดูแลบาดแผลและทำความสะอาดบาดแผลหลังการผ่าตัด มีการติดตามและประเมินผลการรักษาตามแผนการรักษาของสัตว์ป่วย ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     7. การช่วยเหลือ หมายถึง การให้ช่วยเหลือแก่สัตวแพทย์ โดยช่วยจับหรือเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมการใช้งานเตรียมสภาพสัตว์ก่อนการผ่าตัด ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์



     8. การเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หมายถึง การเคลื่อนย้ายหรือการขนย้ายสัตว์ป่วยจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยใช้พาหนะขนส่งหรืออุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยเช่น รถเข็น ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์

     9. หลักการปลอดเชื้อ หมายถึง การทำความสะอาดเพื่อกำจัดหรือทำลายเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

              1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

              2) แบบประเมินการสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ