หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาจรรยาบรรณในการแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-DHIP-160A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาจรรยาบรรณในการแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3435 พนักงานตกแต่งภาพ 

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 เจ้าของร้านถ่ายรูป (ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรด้านการถ่ายภาพ)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องอัดภาพถ่ายสีและขาวดำ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องขยายหรือย่อขนาดภาพถ่าย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล จะต้องรักษาจรรยาบรรณในการแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล โดยไม่นำข้อมูลของลูกค้าไปเผยแพร่ ไม่ล่วงละเมิดด้านจริยธรรม ไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เก็บรักษาฟิล์ม เก็บรักษารูปภาพ เก็บรักษาไฟล์ภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20161

เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

1.1 รักษาข้อมูลของลูกค้า

B1061.01 187193
20161

เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

1.2 ไม่ล่วงละเมิดด้านจริยธรรม

B1061.02 187194
20161

เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

1.3 ไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

B1061.03 187195
20162

เก็บต้นฉบับไม่ให้เกิดความเสียหาย

2.1 เก็บรักษาฟิล์ม 

B1062.01 187196
20162

เก็บต้นฉบับไม่ให้เกิดความเสียหาย

2.2 เก็บรักษารูปภาพ

B1062.02 187197
20162

เก็บต้นฉบับไม่ให้เกิดความเสียหาย

2.3 เก็บรักษาไฟล์ภาพ

B1062.03 187198

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ทักษะเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

2)  ทักษะเกี่ยวกับการรักษาต้นฉบับไม่ให้เกิดความเสียหาย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ เกี่ยวกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

2)  หลักการเก็บรักษาฟิล์มและไฟล์ภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรักษาจรรยาบรรณในการปรับแต่งภาพ โดยพิจารณาจาก

ร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ โดยประเมินเกี่ยวกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เกี่ยวกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่องกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ และประเมินเกี่ยวกับการเก็บรักษาฟิล์มและไฟล์ภาพไม่ให้เกิดความเสียหาย

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้อง ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสอบเข้ารับประเมินภาคปฏิบัติจากการสัมภาษณ์

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1) พระราชบัญญัติลิขสิทธ์ หมายถึง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 “ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ เพียง ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น และ “ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

2) การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึง การทำซ้ำหรือดัดแปลง ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น

3) กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน หมายถึง กฎหมายที่นิยมใช้อยู่มี 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายทั่วๆ ไป ใช้ความคุมความประพฤติและกำหนดสิทธิหน้าที่ต่างๆ ของพลเรือนไว้กับกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายบัญญัติถึงกระบวนการ / วิธีการบังคับให้ดำเนินการไปตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่ 3 กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ตั้งแต่มาตรา 45 – 48 โดยในส่วนของสิ่งพิมพ์ มีบัญญัติไว้ในมาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น มาตรา 46 พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพและมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ทรัพยากรสื่อสารและชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน

กฎหมายสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย กฎหมายเกี่ยวกับข้องกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์

4)    การเก็บรักษาฟิล์ม หมายถึง การเก็บฟิล์มไว้ในตู้เย็น ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

 



ยินดีต้อนรับ