หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมงานก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-BAGW-157A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมงานก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3435 พนักงานตกแต่งภาพ 

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 เจ้าของร้านถ่ายรูป (ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรด้านการถ่ายภาพ)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องอัดภาพถ่ายสีและขาวดำ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องขยายหรือย่อขนาดภาพถ่าย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล สามารถแยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้ ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน บันทึกรายละเอียดของงาน ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง จัดลำดับความสำคัญของงาน กำหนดระยะเวลาในการทำงาน เลือกวัสดุการพิมพ์ตามชนิดของงาน              

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20131

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

1.1 แยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้

B1031.01 187176
20131

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

1.2 ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน

B1031.02 187177
20131

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

1.3 บันทึกรายละเอียดของงาน

B1031.03 187178
20131

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

1.4 ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง

B1031.04 187179
20132

วางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

2.1 จัดลำดับความสำคัญของงาน

B1032.01 187180
20132

วางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

2.2 กำหนดระยะเวลาในการทำงาน               

B1032.02 187181
20132

วางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ก่อนการผลิตภาพระบบดิจิทัล 

2.3 เลือกวัสดุการพิมพ์ตามชนิดของงาน

B1032.03 187182

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1)  ทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบและแยกประเภทของสื่อบันทึกได้

  2)  ทักษะเกี่ยวกับการบันทึกรายละเอียดที่ลูกค้าต้องการ 

  3)  ทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารหรือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้

  4)  ทักษะเกี่ยวกับการเขียนบันทึกข้อมูลเพื่อส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพ

 2)  ความรู้เกี่ยวกับหลักการตั้งค่าความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงานผลิตภาพ

 3)  ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงานผลิตภาพ

 4)  ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนเพื่อส่งมอบงานแก่ลูกค้าให้ทันเวลา

 5)  ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารในองค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมงานก่อนการผลิตภาพ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ โดยประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าได้ และการวางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์โดยผู้รับการประเมินสามารถ แยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้ ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน บันทึกรายละเอียดของงาน ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง  โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าได้

2)  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์

3)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้ว หรือขนาด A4(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1)  การแยกประเภท หมายถึง แยกประเภทของสื่อที่ลูกค้าต้องการใช้บริการโดยแบ่งเป็นการพิมพ์ภาพถ่ายขนาดต่างๆ การพิมพ์โฟโต้บุ๊ค การพิมพ์แบบพิเศษ การพิมพ์เพื่อการจัดนิทรรศการ รูปแบบการเข้าเล่ม ฯลฯ

2)  การตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลหรือไฟล์ภาพว่ามีขนาดที่เหมาะสมต่อการพิมพ์ภาพ มีวิธีการตรวจคุณภาพไฟล์โดยพิจารณาจาก Pixel Dimension วิธีการส่งภาพมาพิมพ์ผ่านไลน์สามารถตั้งค่าของรูปภาพเป็น High Quality จะให้คุณภาพดีที่สุด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

 



ยินดีต้อนรับ