หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แต่งภาพ

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-RQCV-156A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แต่งภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3435 พนักงานตกแต่งภาพ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 เจ้าของร้านถ่ายรูป (ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรด้านการถ่ายภาพ)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องอัดภาพถ่ายสีและขาวดำ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องขยายหรือย่อขนาดภาพถ่าย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล สามารถจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ ปรับขนาดของภาพ ปรับโทนสีของภาพ ตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร  และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20121

เตรียมอุปกรณ์การแต่งภาพ

1.1 จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

B1021.01 187171
20121

เตรียมอุปกรณ์การแต่งภาพ

1.2 เลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการแต่งภาพ

B1021.02 187172
20122

ตั้งค่าสำหรับการแต่งภาพ

2.1 ปรับขนาดของภาพ

B1022.01 187173
20122

ตั้งค่าสำหรับการแต่งภาพ

2.2 ปรับโทนสีของภาพ

B1022.02 187174
20122

ตั้งค่าสำหรับการแต่งภาพ

2.3 ตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ

B1022.03 187175

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 

2)  ทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ

3)  ทักษะความรู้เกี่ยวกับการปรับขนาดปรับโทนสีของภาพ   

4)  ทักษะเกี่ยวกับการตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 

2)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ

3)  ความรู้เกี่ยวกับการปรับขนาดปรับโทนสีของภาพ   

4)  ความรู้เกี่ยวกับการตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ การเลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการแต่งภาพ การปรับขนาดปรับโทนสีของภาพ การตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน 

(ง)  วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องเตรียมอุปกรณ์การแต่งภาพ

2)  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปรับแต่งภาพแบบดัดแปลง    

3)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้ว หรือขนาด A4 

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

 1)  เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแต่งภาพควรมีแรม ไม่น้อยกว่า โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ 8 GB ถึง 16 GB จอภาพควรความละเอียดอย่างน้อย 1920x1080 แสดงผลสี sRGB ได้ 100%, หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) หรือความจุเครื่องอย่างน้อย 256 GB เป็นแบบ SSD เท่านั้น

2) การปรับโทนสีของภาพ หมายถึงการปรับโทนสีภาพถ่ายให้มีสีสันหรือเพื่อแก้ไขปัญหาโทนสีภาพถ่ายที่ผิดเพี้ยนได้ โดยการปรับค่า Color Balance, Mode สีต่างๆ เป็นต้น

3) การตัดต่อดัดแปลงแก้ไขภาพ หมายถึง การตกแต่งดัดแปลงหรือแก้ไข (Retouching) เช่น ปรับสีที่ผิดเพี้ยน ปรับแสงเงาที่สว่างหรือมืดเกินไป ลบแสงสะท้อนจากแฟลช ดัดแปลงโครงสร้างในภาพ

การตัดต่อทั้งภาพหรือบางส่วน (Crop)  เช่น ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกไป ลบองค์ประกอบที่รกรุงรัง ปรับภาพให้เบลอหรือคมชัด หรือขจัดเม็ดสีที่เกิดในภาพที่แสกนในสิ่งพิมพ์ การแบ่งชั้นของภาพเป็นเลเยอร์ (Layer) และเคลื่อนย้ายภาพได้เป็นอิสระต่อกัน การทำภาพซ้ำในรูปภาพเดียวกัน (Cloning) โดยนำภาพมาซ้อนกันและเลือกบางส่วนของแต่ละภาพ แล้วนำมาสร้างใหม่เป็นภาพเดียวกัน

(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

คอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมแต่งภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ