หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมงานก่อนแต่งภาพ

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-BFQR-155A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมงานก่อนแต่งภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3435 พนักงานตกแต่งภาพ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 เจ้าของร้านถ่ายรูป (ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรด้านการถ่ายภาพ)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องอัดภาพถ่ายสีและขาวดำ

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 8132 พนักงานคุมเครื่องขยายหรือย่อขนาดภาพถ่าย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล สามารถแยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้ ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง จัดลำดับความสำคัญของงาน และกำหนดระยะเวลาในการทำงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างแต่งภาพและผลิตภาพระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร  และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนแต่งภาพ 

1.1 แยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้

B1011.01 187166
20111

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนแต่งภาพ 

1.2 ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน 

B1011.02 187167
20111

ตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้าก่อนแต่งภาพ 

1.3 ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง

B1011.03 187168
20112

วางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ก่อนแต่งภาพ 

2.1 จัดลำดับความสำคัญของงาน 

B1012.01 187169
20112

วางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ก่อนแต่งภาพ 

2.2 กำหนดระยะเวลาในการทำงาน

B1012.02 187170

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ทักษะเกี่ยวกับการแยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้

2)    ทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน 

3)    ทักษะเกี่ยวกับการส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง

4)    ทักษะเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของงาน 

5)    ทักษะเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการทำงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้า

2)    ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์

       


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)     เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)     แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ 

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบต้นฉบับงานของลูกค้า การวางแผนการทำงานตามวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสาธิตการแยกประเภทของสื่อที่ลูกค้านำมาใช้บริการได้   

2)  ตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน ส่งงานต่อให้หน่วยงานที่ต่อเนื่อง   จัดลำดับความสำคัญของงาน วิธีการกำหนดระยะเวลาในการทำงาน

3) ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8 x 12 นิ้ว หรือขนาด A4 

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1)  การแยกประเภท หมายถึง แยกประเภทของสื่อที่ลูกค้าต้องการใช้บริการโดยแบ่งเป็นการพิมพ์ภาพถ่ายขนาดต่างๆ การพิมพ์โฟโต้บุ๊ค การพิมพ์แบบพิเศษ การพิมพ์เพื่อการจัดนิทรรศการ รูปแบบการเข้าเล่ม ฯลฯ

2)  การตรวจสอบความละเอียดของสื่อให้ตรงกับลักษณะงาน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลหรือไฟล์ภาพว่ามีขนาดที่เหมาะสมต่อการพิมพ์ภาพ มีวิธีการตรวจคุณภาพไฟล์โดยพิจารณาจาก Pixel Dimension วิธีการส่งภาพมาพิมพ์ผ่านไลน์สามารถตั้งค่าของรูปภาพเป็น High Quality จะให้คุณภาพดีที่สุด

(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

คอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมแต่งภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้



ยินดีต้อนรับ