หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-BSCP-151A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3431 ช่างถ่ายภาพ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ โดยวิเคราะห์และจัดลำดับงานตามวัตถุประสงค์ สำรวจสถานที่เพื่อกำหนดจุดที่เหมาะสมในการถ่ายภาพ เลือกใช้เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน ภาพครอบคลุมกิจกรรมครบถ้วน ภาพถ่ายต้องมีคุณภาพเหมาะสำหรับการใช้งานประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างภาพ หรือ ช่างถ่ายภาพ (Photographer) ช่างภาพประชาสัมพันธ์ (Public Relations Phptographer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดย่อย 34 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหมู่ 343 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการประกอบอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10411

วางแผนการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

1.1 วิเคราะห์และจัดลำดับงานตามวัตถุประสงค์

A4011.01 187142
10411

วางแผนการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

1.2 สำรวจสถานที่เพื่อกำหนดจุดที่เหมาะสมในการถ่ายภาพ

A4011.02 187143
10412

เลือกเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

2.1 เลือกใช้เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

A4012.01 187144
10412

เลือกเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

2.2 เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน

A4012.02 187145
10413

ถ่ายภาพกิจกรรมของงาน

3.1 ภาพครอบคลุมกิจกรรมครบถ้วน

A4013.01 187146
10413

ถ่ายภาพกิจกรรมของงาน

3.2 ภาพถ่ายต้องมีคุณภาพเหมาะสำหรับการใช้งานประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ

A4013.02 187147

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1011 ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

        1012 ควบคุมคุณภาพของสีและแสง 

        1013 จัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

        1015 สื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร

        1016 ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดลำดับงานตามวัตถุประสงค์

2)    ทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

3)    ทักษะเกี่ยวกับการ เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน

4)     ทักษะเกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมกิจกรรมครบถ้วน

5)    ทักษะเกี่ยวกับการนำภาพถ่ายไปใช้ประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการ วิเคราะห์และจัดลำดับงานตามวัตถุประสงค์

2)    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์

3)    ความรู้เกี่ยวกับการ เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน

4)    ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมกิจกรรมครบถ้วน

5)    ความรู้เกี่ยวกับการนำภาพถ่ายไปใช้ประชาสัมพันธ์ในสื่อต่าง ๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)   แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับวิธีการวางแผนการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ การเลือกเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ (Public Relations) การถ่ายภาพกิจกรรมของงาน (Event)  โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน 

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)  ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ในภาพถ่ายงานประชาสัมพันธ์ตามวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ เลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ (Event) และถ่ายภาพกิจกรรมของงาน

2)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้ว หรือขนาด A4 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1)  วิเคราะห์และจัดลำดับงานตามวัตถุประสงค์ หมายถึง บทบาทของช่างภาพในการวิเคราะห์แนวทางการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆดังนี้ 1) การจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ 2) การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ 3) การเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยเริ่มจากการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูล   รวมทั้งการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนจัดเตรียมงาน เตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ

2)  เทคนิคสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ หมายถึงด้านการถ่ายภาพบุคคลที่มีความสำคัญควรกำหนดมุมกล้องถ่ายภาพและจัดองค์ประกอบของภาพให้บุคคลที่มีความสำคัญ   เป็นส่วนประธาน ส่วนบุคคลอื่นที่มาร่วมในทีมควรให้เป็นส่วนประกอบในภาพ ด้านการถ่ายภาพอาคารหรือสถานที่ตลอดจนกิจกรรมภายนอกควรถ่ายภาพในช่วงเวลาที่แสงตกกระทบตัวอาคารแล้วมีความสวยงาม      มีความสง่างาม ควรสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กร  อีกทั้งการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ควรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงาน

3)  เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หมายถึง การเลือกใช้อิเล็กทรอนิกส์แฟลชเพื่อใช้ใน

การเพิ่มแสงในภาพ เลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้เมื่อบันทึกภาพในระยะไกล  

4)  ถ่ายภาพครอบคลุมกิจกรรม หมายถึง การถ่ายภาพบุคคลหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

ในงานอย่างครบถ้วนสามารถเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

5)  การนำภาพถ่ายไปใช้ประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆหมายถึง การนำเสนอภาพถ่ายในสื่อ   ต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์หรือสื่อสมัยใหม่ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet) การใช้นำเสนอภาพถ่ายผ่านทาง Social media  ได้แก่ Facebook   Instagram  ซึ่งสามารถใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ได้

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1)    กล้องถ่ายภาพดิจิทัล 

2)    เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่างๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ