หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายภาพแต่งงาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-RPEZ-148A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายภาพแต่งงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3431 ช่างถ่ายภาพ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพแต่งงาน ต้องเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะกับสถานที่ สไตล์และความต้องการของลูกค้าอย่างเหมาะสม เลือกใช้แสงประดิษฐ์ในการจัดแสงในสตูดิโอ เลือกใช้แสงประดิษฐ์ในการจัดแสงร่วมกับแสงธรรมชาติ เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการ เลือกลักษณะการวางท่าและการกำกับคู่บ่าวสาว ถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆทั้งของไทยและต่างชาติ เลือกใช้แสงแบบต่างๆ ในการจัดทิศทางแสง เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการสื่อสาร เลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างภาพ หรือ ช่างถ่ายภาพ (Photographer) ช่างภาพบุคคล ช่างภาพแต่งงาน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดย่อย 34 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหมู่ 343 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการประกอบอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10321

ถ่ายภาพ Pre-Wedding

1.1 เลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะกับสถานที่ สไตล์และความต้องการของลูกค้าอย่างเหมาะสม

A3021.01 187121
10321

ถ่ายภาพ Pre-Wedding

1.2 เลือกใช้แสงประดิษฐ์ในการจัดแสงในสตูดิโอ

A3021.02 187122
10321

ถ่ายภาพ Pre-Wedding

1.3 เลือกใช้แสงประดิษฐ์ในการจัดแสงร่วมกับแสงธรรมชาติ

A3021.03 187123
10321

ถ่ายภาพ Pre-Wedding

1.4 เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการ

A3021.04 187124
10321

ถ่ายภาพ Pre-Wedding

1.5 เลือกลักษณะการวางท่าและการกำกับคู่บ่าวสาว

A3021.05 187125
10322

ถ่ายภาพ Wedding Ceremony

2.1 ถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างชาติ

A3022.01 187126
10322

ถ่ายภาพ Wedding Ceremony

2.2 เลือกใช้แสงแบบต่าง ๆ ในการจัดทิศทางแสง

A3022.02 187127
10322

ถ่ายภาพ Wedding Ceremony

2.3 เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการสื่อสาร

A3022.03 187128
10322

ถ่ายภาพ Wedding Ceremony

2.4 เลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม

A3022.04 187129

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1011 ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

        1012 ควบคุมคุณภาพของสีและแสง 

        1013 จัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

        1015 สื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร

        1016 ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล

        1017 จัดการไฟล์ภาพและตกแต่งภาพ

        1031 ถ่ายภาพบุคคล

        1034 ปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพช่างภาพบุคคล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆทั้งของไทยและต่างชาติ

2)  ทักษะเกี่ยวกับการ เลือกใช้แสงแบบต่างๆ ในการจัดทิศทางแสง การจัดแสงในสตูดิโอ

3)  ทักษะเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆทั้งของไทยและต่างชาติ

2)    ความรู้เกี่ยวกับการ เลือกใช้แสงแบบต่างๆ ในการจัดทิศทางแสง การจัดแสงในสตูดิโอ

3)    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)   แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆทั้งของไทยและต่างชาติ การเลือกใช้แสงแบบต่างๆ ในการจัดทิศทางแสง การจัดแสงในสตูดิโอ การใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ได้แก่ การเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับมุมภาพและสถานที่ การเลือกใช้กล้อง เลนส์ถ่ายภาพ และอุปกรณ์ในการจัดแสง การจัดแสงในสตูดิโอ   แสงประดิษฐ์ ในการจัดแสงร่วมกับแสงธรรมชาติ

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างชาติ การเลือกใช้แสงแบบต่าง ๆ ในการจัดทิศทางแสง การจัดแสงในสตูดิโอ การใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเหมาะสม

2)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้ว หรือขนาด A4 

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1)  การถ่ายภาพงานแต่งงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนของขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ทั้งของไทยและต่างชาติหมายถึง ช่างภาพต้องทราบลำดับขั้นตอนของพิธีการ  งานแต่งที่แสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น พิธีแต่งงานของผู้นับถือศาสนาคริสต์ จะมีการเริ่มพิธีจากการจุดเทียน ...บรรเลงเพลง ...เจ้าสาวเข้าสู่โบสถ์ ...อ่านคัมภีร์คู่ชีวิต ...กล่าวคำปฏิญาณ ...แลกแหวนแต่งงาน ...พิธีลงนาม ...จุดเทียนครอบครัว เป็นต้น

2) การจัดแสงในสตูดิโอ หมายถึง การเลือกใช้แสงแบบต่างๆ โดยใช้แสงไฟประดิษฐ์ เป็นไฟ ที่ให้แสงต่อเนื่อง หรือ ไฟแฟลช จำนวนไฟที่ใช้มีจำนวนตั้งแต่1 ดวง ขึ้นไป ในการจัดทิศทางแสงเน้นทิศทางของแสงตามแนวคิดของงานโดยวางตำแหน่งไฟไว้ที่ด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านบน

(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1)    กล้องถ่ายภาพดิจิทัล 

2)    เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่างๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

 



ยินดีต้อนรับ