หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายภาพบุคคล

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-QJVS-147A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายภาพบุคคล

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3431 ช่างถ่ายภาพ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพบุคคล ต้องนำเสนอภาพที่จัดองค์ประกอบตามลักษณะของงาน อธิบายให้เห็นบุคลิกของผู้เป็นแบบได้ สามารถกำกับจัดวางท่าทางของผู้เป็นแบบตามลักษณะของงานได้ ใช้โหมดถ่ายภาพตามลักษณะงานที่ต้องการ เลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพให้เหมาะสมกับงาน เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการ ปรับค่ารูรับแสง ความไวชัตเตอร์ ความไวแสง ได้ตามลักษณะงาน วัดแสง และชดเชยแสงได้ ควบคุมและจัดการทิศทางแสงได้  ควบคุมและจัดการทิศทางแสงได้ ใช้แสงประดิษฐ์หรือแสงธรรมชาติได้ตามลักษณะงานระบุแนวความคิดและวัตถุประสงค์การนำเสนอของลูกค้า เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างภาพ หรือ ช่างถ่ายภาพ (Photographer) ช่างภาพบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดย่อย 34 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหมู่ 343 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการประกอบอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10311

นำเสนอประเภทของภาพถ่ายบุคคล

1.1 นำเสนอภาพที่จัดองค์ประกอบได้ ตามลักษณะงาน  

A3011.01 187109
10311

นำเสนอประเภทของภาพถ่ายบุคคล

1.2 อธิบายให้เห็นบุคลิกของผู้เป็นแบบ

A3011.02 187110
10311

นำเสนอประเภทของภาพถ่ายบุคคล

1.3 กำกับ จัดวางท่าทางของผู้เป็นแบบตามลักษณะงาน

A3011.03 187111
10311

นำเสนอประเภทของภาพถ่ายบุคคล

1.4 ใช้โหมดถ่ายภาพตามลักษณะงานที่ต้องการอธิบายภาพ 

A3011.04 187112
10312

ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพได้เหมาะสม 

2.1 เลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพให้เหมาะสมกับงาน

A3012.01 187113
10312

ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพได้เหมาะสม 

2.2 เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับ งานที่ต้องการ

A3012.02 187114
10313

ควบคุมปริมาณและคุณภาพของแสงในการถ่ายภาพ

3.1 ปรับค่ารูรับแสง ความไวชัตเตอร์ ความไวแสง ได้ตามลักษณะงาน

A3013.01 187115
10313

ควบคุมปริมาณและคุณภาพของแสงในการถ่ายภาพ

3.2 วัดแสง และชดเชยแสงได้

A3013.02 187116
10314

ถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ (Outdoor) หรือถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ (Indoor or Studio)


4.1 ควบคุมและจัดการทิศทางแสงได้

A3014.01 187117
10314

ถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ (Outdoor) หรือถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ (Indoor or Studio)


4.2 ใช้แสงประดิษฐ์หรือแสงธรรมชาติได้ตามลักษณะงาน

A3014.02 187118
10315

ใช้เทคนิคการถ่ายภาพได้สอดคล้องกับงาน

5.1 ระบุแนวความคิดและวัตถุประสงค์การนำเสนอของลูกค้า

A3015.01 187119
10315

ใช้เทคนิคการถ่ายภาพได้สอดคล้องกับงาน

5.2 เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการ

A3015.02 187120

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    1011 ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

    1012 ควบคุมคุณภาพของสีและแสง 

    1013 จัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

    1015 สื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร

    1016 ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ทักษะเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคล

2)    ทักษะเกี่ยวกับการกำกับจัดวางท่าทางของผู้เป็นแบบ ตามลักษณะของงานได้

3)    ทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ในการถ่ายภาพบุคคลตามลักษณะของงานได้

4)    ทักษะเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ (Indoor or Studio) การถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ (Outdoor) 

6)   ทักษะเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคล

2)    ความรู้เกี่ยวกับการจัดท่าทางของแบบ

3)    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพบุคคล

4)    ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของแสง/การวัดแสงและชดเชยแสง

5)     ความรู้เกี่ยวกับการจัดแสง/การถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ (Indoor or Studio)  การถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ (Outdoor) 

6)    ความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคล โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ได้แก่ นำเสนอประเภทของภาพถ่ายบุคคล การจัดท่าทางของแบบ จัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ เลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพได้เหมาะสม การควบคุมปริมาณและคุณภาพของแสง การใช้แสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ และเลือกใช้เทคนิคในการถ่ายภาพให้สอดคล้องกับงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพบุคคลในสถานที่และนอกสถานที่

2)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำกับจัดวางท่าทางของผู้เป็นแบบตามลักษณะของงาน

3)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการถ่ายภาพบุคคลตามลักษณะของงาน

4)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดแสงโดยใช้แสงประดิษฐ์ร่วมกับแสงธรรมชาติ

5)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ

6)    ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้ว หรือขนาด A4 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) การถ่ายภาพบุคคลหมายถึงการถ่ายภาพที่แสดงบุคลิกของผู้ที่เป็นแบบได้อย่างสวยงาม น่าสนใจ อาจบอกเล่าเรื่องราว การเน้นตัวบุคคลจะต้องแสดงออกถึงอารมณ์ของบุคคลนั้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะแสดงออกทางอารมณ์ด้วยแววตา ท่าทาง แสง บรรยากาศ

     2) การจัดท่าทางของแบบหมายถึงการจัดท่าทางให้สัมพันธ์กับมุมมองการถ่าย หรือขนาดภาพแบบต่างๆเช่น close up shot, medium shot, long shot การจัดท่าก็จะเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมกับลักษณะงานที่นำไปใช้

     3) อุปกรณ์ในการถ่ายภาพบุคคลหมายถึงการระบุชนิดของกล้องที่ใช้ในการถ่ายภาพ รวมถึง    การเลือกเลนส์ที่เหมาะสมต่อจำนวนของแบบ 

4) การวัดแสงและชดเชยแสงหมายถึงการวัดค่าแสงที่เห็นรายละเอียดในภาพได้อย่างชัดเจน แต่ในบางกรณีที่ต้องการทำให้พื้นที่ส่วนมืดในภาพสว่างขึ้นควรชดเชยแสงไปทางบวก แต่เมื่อถ่ายภาพวัตถุสีดำที่มีการสะท้อนแสงต่ำควรใช้ชดเชยแสงทางลบ

5) การจัดแสง/การถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ (Indoor or Studio) หมายถึงการถ่ายภาพในพื้นที่หรือห้องที่กำหนดไว้ เพื่อสะดวกในการควบคุมค่าของแสง ในกรณีนี้จะมีการใช้อุปกรณ์การจัดแสงเพิ่มเติม ส่วนการถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ (Outdoor) หมายถึงการถ่ายภาพโดยเลือกสถานที่ๆตรงกับแนวคิดหลักที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวภายในภาพ

6) การจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะหมายถึงการจัดวางจุดสนใจคือนางแบบในภาพให้สัมพันธ์กันสิ่งแวดล้อมในภาพได้อย่างมีเอกภาพ จัดองค์ประกอบภาพตามหลักของกฎสามส่วน จัดองค์ประกอบภาพโดยวางจุดสนใจของภาพตามหลักของกฎสามส่วน จัดองค์ประกอบภาพตามหลักทัศนธาตุ (Visual Elements)

(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1)    กล้องถ่ายภาพดิจิทัล 

2)    เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่างๆ

3)    ไฟแฟลชสำหรับถ่ายภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ