หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-HBHK-145A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3431 ช่างถ่ายภาพ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพ สามารถปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม เลือกโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม ใช้เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม  เลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งสีของภาพ  เลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งทัศนมิติของภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างภาพ หรือ ช่างถ่ายภาพ (Photographer) ช่างภาพภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม ช่างปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดย่อย 34 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหมู่ 343 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการประกอบอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10231

ใช้โปรแกรมในการจัดการและตกแต่งไฟล์ภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

1.1 เลือกโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม

A2031.01 187097
10231

ใช้โปรแกรมในการจัดการและตกแต่งไฟล์ภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

1.2 ใช้เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

A2031.02 187098
10232

สร้างสรรค์เทคนิคการปรับแต่งภาพสถาปัตยกรรม

2.1 เลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งสีของภาพ

A2032.01 187099
10232

สร้างสรรค์เทคนิคการปรับแต่งภาพสถาปัตยกรรม

2.2 เลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งทัศนมิติของภาพ

A2032.02 187100

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1011 ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ  

        1012 ควบคุมคุณภาพของสีและแสง 

        1013 จัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

        1015 สื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร

        1016 ปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล

        1017 จัดการไฟล์ภาพและตกแต่งภาพ

        1021 ถ่ายภาพภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม

        1024 ปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพช่างภาพภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  ทักษะเกี่ยวกับการเลือกโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม

2)  ทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

3)  ทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งสีของภาพ

4)  ทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งทัศนมิติของภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม

2)  ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม

3)  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งสีของภาพ

4) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับแต่งทัศนมิติของภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 





(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2)    ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่ายสถาปัตยกรรมหรือ

3)    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4)    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2)    เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3)    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเลือกโปรแกรมในการจัดการและตกแต่งไฟล์ภาพเพื่องานสถาปัตยกรรม เทคนิคการปรับแต่งภาพเพื่องานสถาปัตยกรรมโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน 

(ง) วิธีการประเมิน

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

2)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4)    ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องเลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สร้างสรรค์ภาพถ่าพ       สถาปัตยกรรม ถ่ายภาพมีความโดดเด่นในโครงสร้างสถาปัตยกรรม ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพให้ได้ปริมาณแสง ความสว่าง ความคมชัด คุณภาพแสงและเงา ได้อย่างเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน

2)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ             ขนาด 8 x12 นิ้ว หรือขนาด A4 

3)   ผู้เข้ารับการประเมินต้องปรับแต่งภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1)  โปรแกรมปรับแต่งภาพสถาปัตยกรรมหมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการปรับแต่งรายละเอียดส่วนมืดส่วนสว่าง โทนสี ในภาพถ่าย เช่นAdobe Photoshop, Adobe Lightroom,   Photo Pos Pro, GIMP, Canva เป็นต้น 

2)  เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพภาพสถาปัตยกรรมหมายถึงเครื่องมือ (Tool) ที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย ปรับขนาด ตกแต่งภาพ เช่น เลือก(Move) ย้าย (Marquee) ตัดขอบ(Crop) ระบาย (Brush) ฯลฯ

3)  การปรับแต่งสีของภาพสถาปัตยกรรมหมายถึงการปรับแก้อุณหภูมิสี (Color Temperature) ของภาพถ่ายได้ สามารถแก้ไขส่วนของสีในภาพที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมรอบๆได้ อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ตัวอย่างเช่นการนำเทคนิคการ HDR หรือ High Dynamic Range มาใช้เพื่อให้ได้แสงและสีของท้องฟ้าสวยงามขึ้น

4) เครื่องมือในการปรับแต่งทัศนมิติของภาพสถาปัตยกรรมหมายถึง การใช้เครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาของภาพที่มีความบิดเบือน (Distortion) จากการใช้เลนส์มุมกว้าง เกิดขึ้นในภาพ เช่น ภาพตึกที่ลู่เอียง, การแก้ปัญหาทัศนมิติ (Perspective) ของภาพให้มีความถูกต้อง เช่นภาพวัตถุหรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง, เส้น หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อระยะห่างไกลออกไปจะมีลักษณะพุ่งเข้าหากัน

(ค)  เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1)    กล้องถ่ายภาพดิจิทัล 

2)    เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่าง ๆ 

3)    เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมสำหรับการปรับแต่งภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

 



ยินดีต้อนรับ