หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-OCUR-136A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 3431 ช่างถ่ายภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพ สามารถใช้กล้องถ่ายภาพ โดยเลือกใช้โหมดถ่ายภาพ ระบบวัดแสงความไวชัตเตอร์  ความไวแสงได้อย่างเหมาะสม เลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพและสามารถปรับค่ารูรับแสงได้อย่างเหมาะสม เลือกใช้อุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ เช่น ฟิลเตอร์ ขาตั้งกล้องได้อย่างเหมาะสม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างภาพ หรือ ช่างถ่ายภาพ (Photographer)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
หมวดใหญ่ 3 เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆหมวดย่อย 34 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหมู่ 343 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการประกอบอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111

ใช้กล้องถ่ายภาพ

1.1 เลือกใช้กล้องถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม

A1011.03 187029
10111

ใช้กล้องถ่ายภาพ

1.2 ใช้โหมดถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม

A1011.04 187035
10111

ใช้กล้องถ่ายภาพ

1.3 ใช้ระบบวัดแสงได้อย่างเหมาะสม

A1011.05 187036
10111

ใช้กล้องถ่ายภาพ

1.4 ปรับค่ารูรับแสง ความไวชัตเตอร์ ความไวแสง ได้อย่างเหมาะสม


A1011.06 187037
10112

ใช้เลนส์ถ่ายภาพ

2.1 เลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสม

A1012.01 187031
10112

ใช้เลนส์ถ่ายภาพ

2.2 สามารถปรับค่ารูรับแสงได้อย่างเหมาะสม


A1012.02 187032
10113

ใช้อุปกรณ์เสริม

3.1 เลือกใช้ฟิลเตอร์ได้อย่างเหมาะสม

A1013.01 187033
10113

ใช้อุปกรณ์เสริม

3.2 เลือกใช้ขาตั้งกล้องได้อย่างเหมาะสม

A1013.02 187034

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการใช้กล้องดิจิทัลและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

2) ทักษะในการเลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพ

3) ทักษะในการปรับตั้งและการควบคุมปริมาณแสง 

4) ทักษะในการใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ในการถ่ายภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพดิจิทัล

2) ความรู้เกี่ยวกับประเภทและคุณสมบัติของเลนส์ และการเลือกใช้เลนส์ถ่ายภาพ

3) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณแสง ค่าความไวแสง ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง

4) ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence) และหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

2) ผลงานประกอบการประเมิน หรือผลงานภาพถ่าย หรือ

3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

4) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) หนังสือหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่ต้องการ หรือ

2) เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

3) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัล เลนส์ถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษา ฝึกอบรม (ถ้ามี)

2) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์  

4) ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้กล้อง เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่างๆและอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพได้ถูกต้อง

2)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพให้ได้ปริมาณแสง ความสว่าง ความคมชัด คุณภาพแสงและเงาได้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน

3)  ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ ขนาด 8x12 นิ้วหรือขนาด A4 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) การเลือกใช้กล่อง หมายถึง สามารถเลือกใช้ประเภทกล้องได้ตามความถนัด

2)  เลนส์ถ่ายภาพ หมายถึง สามารถเลือกค่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงานที่ถ่ายภาพ

3)  โหมดถ่ายภาพแบบต่าง ๆ หมายถึง สามารถเลือกโหมดถ่ายภาพในกล้อง Manual(M) , Shutter Priority (S/Tv) , Aperture Priority (A/Av), Programme (P) ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงานที่ถ่ายภาพ

4)  ระบบวัดแสง หมายถึง สามารถเลือกระบบวัดแสงภายในกล้อง 

1.  แบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluative) 2. แบบเฉลี่ยหนักกลาง (Center Weighted) 3. แบบเฉพาะจุด (Spot) 4. แบบเฉลี่ยเฉพาะส่วน (Partial) 5.แบบแบ่งพื้นที่(Multi Segment) ได้อย่างเหมาะสม

5)  ความไวแสง (ISO) หมายถึง สามารถกำหนดค่าการรับแสงของกล้องให้เหมาะกับสภาพแสง Auto, 100, 200, 400, 800,…. (ขึ้นอยู่กับกล้อง)

6)  ปรับค่ารูรับแสง (F-number) หมายถึงสามารถกำหนดค่ารูรับแสงเพื่อควบคุมปริมาณแสงและความชัดลึกชัดตื้น (Depth of field) F1.4, F2, F2.8, F4, F5.6, F8, F11, F16, F22 ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน

7)  ความไวชัตเตอร์(Shutter Speed) หมายถึง สามารถกำหนดค่าความไวชัตเตอร์ B, 1, 1/2, 1/4, 1/8, 1/15, 1/30, …. (ขึ้นอยู่กับกล้อง) เพื่อควบคุมปริมาณแสงและหยุดการเคลื่อนไหวของแบบหรือวัตถุในภาพได้

8)  อุปกรณ์ประกอบกล้อง เช่น ฟิลเตอร์(Filter), ขาตั้งกล้อง(Tripod), แฟลช(Flash),     แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) ฯลฯ

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

1)  กล้องถ่ายภาพดิจิทัล 

2)  เลนส์ถ่ายภาพขนาดต่างๆ

3)  อุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถ      ที่ผ่านมาก่อนหน้า และให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ  ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ