หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านการบัญชีต้นทุนตามระบบต้นทุนช่วงและระบบต้นทุนมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-ZTMR-083B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านการบัญชีต้นทุนตามระบบต้นทุนช่วงและระบบต้นทุนมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี


1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ความรู้เกี่ยวกับระบบต้นทุนช่วง บันทึกบัญชีเกี่ยวกับบัญชีวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ตามระบบต้นทุนช่วง การคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูปพร้อมกับการจัดทำรายงานการผลิต ตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน และวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความรู้เกี่ยวกับระบบต้นทุนมาตรฐาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลต่างด้านวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต รวมถึงการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-ไม่มี-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-ไม่มี-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.1         บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตให้ถูกต้อง

010821.01 186954
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.2         บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานตามระบบต้นทุนช่วงให้ถูกต้อง

010821.02 186955
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.3         บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตตามระบบต้นทุนช่วงให้ถูกต้อง

010821.03 186956
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.4         คำนวณจำนวนหน่วยเทียบเท่าหน่วยสำเร็จรูปตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อนให้ถูกต้อง

010821.04 186957
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.5         ทำรายงานการผลิตตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อนให้ถูกต้อง

010821.05 186958
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.6         คำนวณจำนวนหน่วยเทียบสำเร็จรูปตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักให้ถูกต้อง

010821.06 186959
010821

คำนวณและบันทึกบัญชีกรณีสะสมต้นทุนแบบต้นทุนช่วง

1.7 ทำรายงานการผลิตตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักให้ถูกต้อง

010821.07 186960
010822

คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตตามระบบต้นทุนมาตรฐาน

2.1         วิเคราะห์ผลต่างและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรงให้ถูกต้อง

010822.01 186961
010822

คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตตามระบบต้นทุนมาตรฐาน

2.2         วิเคราะห์ผลต่างและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรงให้ถูกต้อง

010822.02 186962
010822

คำนวณและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตตามระบบต้นทุนมาตรฐาน

2.3         วิเคราะห์ผลต่างและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตให้ถูกต้อง

010822.03 186963

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 4


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต

  2. บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานตามระบบต้นทุนช่วง

  3. บันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตตามระบบต้นทุนช่วง

  4. คำนวณจำนวนหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูปตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน

  5. จัดทำรายงานการผลิตตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน

  6. คำนวณจำนวนหน่วยเทียบเท่าหน่วยสำเร็จตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

  7. จัดทำรายงานการผลิตตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

  8. คำนวณและวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง

  9. บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง

  10. คำนวณและวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรง

  11. บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรง

  12. คำนวณและวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิต

  13. บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิต

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต

  2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานตามระบบต้นทุนช่วง

  3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตตามระบบต้นทุนช่วง

  4. ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณจำนวนเทียบเท่าหน่วยสำเร็จรูปตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน

  5. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการจัดทำรายงานการผลิตตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน

  6. ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณจำนวนหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูปตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

  7. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการจัดทำรายงานการผลิตตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

  8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง

  9. ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีเกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการวัตถุดิบทางตรง

  10. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรง

  11. ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีเกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการค่าแรงงานทางตรง

  12. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิต

  13. ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีเกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการค่าใช้จ่ายการผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- ไม่มี –




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)


    1. หนังสือรับรองการผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 4






  • คำแนะนำในการประเมิน



- ไม่มี -




  • วิธีการประเมิน



            1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ระบบต้นทุนงานช่วงการผลิต หมายถึง  การผลิตสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันเป็นจำนวนมาก มี

การแบ่งขั้นตอนการผลิตออกเป็นแผนก (แบ่งเป็นช่วงการผลิต)  ซึ่งงานแต่ละแผนกจะต่อเนื่องกันจนกว่าสินค้านั้นจะผลิตเสร็จ  ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนกจะมีการสะสมต้นทุนในช่วงการผลิตของแผนกตนเอง ได้แก่ ต้นทุนที่รับโอนมา  วัตถุดิบใช้ในการผลิต  ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต  เมื่อสินค้าในแต่ละแผนกผลิตเสร็จจะนำส่งต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด พร้อมกับหน่วยที่แผนกรับผิดชอบในการผลิตจนแล้วเสร็จ ส่งต่อไปยังแผนกถัดไปตามสายงานการผลิต



ระบบบัญชีต้นทุนมาตรฐาน หมายถึง ระบบการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยการประมาณการ  ซึ่งการกำหนดต้นทุนการผลิตไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้ในการควบคุมวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ที่เกิดขึ้นจริงในขณะผลิตให้เป็นไปตามที่กำหนด หากมีความแตกต่างระหว่างต้นทุนมาตรฐานที่กำหนดกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง จะสามารถนำมาใช้ทบทวนเพื่อกำหนดต้นทุนมาตรฐานให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปได้  หรือเป็นการควบคุมไม่ให้ต้นทุนการผลิตเกิดขึ้นอย่างผิดปกติได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ



ยินดีต้อนรับ