หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ASR-DKNU-085B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
3. ทบทวนครั้งที่ | 2 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี 1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
การบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีขาย การบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน การจัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง การทำแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) การควบคุมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ให้ได้ถูกต้องและตรงตามเวลา การทำแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36) ให้ถูกต้อง ควบคุมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.36) ให้ถูกต้องและตรงตามเวลาการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามแบบฟอร์มของกรมสรรพากร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
-ไม่มี- |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากรในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ1) วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งหรือขอคืน2) การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะผู้จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศ3) ประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน 7 การยื่นแบบและการชำระภาษี4) ประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน 11 การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
010921 บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม |
1.1 บันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีขายให้ถูกต้อง |
010921.01 | 186970 |
010921 บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม |
1.2 บันทึกรายการปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนให้ถูกต้อง |
010921.02 | 186971 |
010922 จัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี |
2.1 คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้ถูกต้อง |
010922.01 | 186972 |
010922 จัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี |
2.2 ทำแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ให้ถูกต้อง |
010922.02 | 186973 |
010922 จัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี |
2.3 ควบคุมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ให้ถูกต้องและตรงตามเวลา |
010922.03 | 186974 |
010922 จัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี |
2.4 ทำแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภพ.36) ให้ถูกต้อง |
010922.04 | 186975 |
010922 จัดทำเอกสารเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี |
2.5 ควบคุมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภพ.36) ให้ถูกต้องและตรงตามเวลา |
010922.05 | 186976 |
010923 ทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
3.1 ทำรายงานภาษีซื้อให้ถูกต้อง |
010923.01 | 186977 |
010923 ทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
3.2 ทำรายงานภาษีขายให้ถูกต้อง |
010923.02 | 186978 |
010923 ทำรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
3.3 ทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามแบบฟอร์มของกรมสรรพากรให้ถูกต้อง |
010923.03 | 186979 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 3 |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
- ไม่มี -
1) หนังสือรับรองการผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี ระดับ 3
- ไม่มี -
1) การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากยอดมูลค่าสินค้าหรือบริการก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามอัตราภาษีที่กำหนด ทั้งนี้ในการคำนวณภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรกำหนด จึงจะสามารถนำภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ “ภาษีขาย” หัก “ภาษีซื้อ” ที่ตนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่นเรียกเก็บ จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนเท่านั้น รายงานภาษีซื้อ หมายถึง แบบรายงานที่กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการบันทึกจำนวนภาษีซื้อของกิจการที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่นเรียกเก็บหรือพึงถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือนภาษี ภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใด ก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น รายงานภาษีขาย หมายถึง แบบรายงานที่กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการบันทึกจำนวนภาษีของกิจการที่ได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใด ก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น รายงานสินค้าและวัตถุดิบ หมายถึง แบบรายงานที่กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำขึ้นเพื่อแสดงปริมาณสินค้าและวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีอยู่ ได้มา และจำหน่ายไป เนื่องจากการขายสินค้าหรือการผลิต ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือผลิตเท่านั้น สำหรับผู้ประกอบกิจการให้บริการไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบแต่อย่างใด |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
-ไม่มี- |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
-ไม่มี- |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ |