หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเก็บ ดูแลรักษาวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารผู้ป่วย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MUGV-682A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเก็บ ดูแลรักษาวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารผู้ป่วย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3434) ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดเก็บอาหารสดและแห้งสำหรับใช้ประกอบอาหารผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักความปลอดภัยอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10704.01

จัดเก็บอาหารสด

1. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการจัดเก็บอาหารสดตามมาตรฐาน

10704.01.01 186047
10704.01

จัดเก็บอาหารสด

2. จัดเก็บอาหารสดได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักความปลอดภัยอาหาร

10704.01.02 186048
10704.01

จัดเก็บอาหารสด

3. บันทึกวันที่จัดเก็บและปริมาณของอาหาร และบันทึกอุณหภูมิตู้แช่อาหาร

10704.01.03 186049
10704.02

จัดเก็บอาหารแห้ง

1. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการจัดเก็บอาหารแห้งตามมาตรฐาน

10704.02.01 186050
10704.02

จัดเก็บอาหารแห้ง

2. จัดเก็บอาหารแห้งได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักความปลอดภัยอาหาร

10704.02.02 186051
10704.02

จัดเก็บอาหารแห้ง

3. บันทึกวันที่จัดเก็บและปริมาณของอาหาร และบันทึกอุณหภูมิตู้แช่อาหาร

10704.02.03 186052

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การแยกประเภทของอาหารสดและอาหารแห้ง    



    2. การดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร



    3. การบันทึก ติดตาม ควบคุมอุณหภูมิในการจัดเก็บอาหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิธีการแยกประเภทของอาหารสดและอาหารแห้ง



2. วิธีการดูแลและจัดเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นผู้ประกอบอาหารต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัด

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือ

    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่าน ให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. วิธีการประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และการประเมินภาคปฏิบัติด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน  


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจัดเก็บอาหารสดและแห้งสำหรับใช้ประกอบอาหารผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักความปลอดภัยอาหาร

2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. จัดเก็บอาหาร หมายถึง การจัดเก็บวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงประเภทของวัตถุดิบแต่ละชนิด อุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่จัดเก็บ ภาชนะที่ปิดสนิท สะดวกแก่การขนย้ายและเข้าถึงได้ง่าย

2. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสถานการณ์จำลอง 

-    ตัวอย่างอาหารสด เช่น ผักชี ผักกาดหอม แตงกวา เนื้อสัตว์

-    ตัวอย่างอาหารแห้ง เช่น กระเทียม น้ำตาล น้ำปลา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้



2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมินภาคปฏิบัติ



3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ