หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงในระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-MJEA-248B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงในระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม โดยเข้าใจ ระบุปัจจัยความเสี่ยงในกระบวนการวิจัย กำหนดแผนรองรับความเสี่ยงเพื่อควบคุมกิจกรรมหรือแผนงาน วิจัย พัฒนาและนวัตกรรม สื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงในระหว่างการดำเนินงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม และประเมินและตรวจสอบแผนงาน/กิจกรรม การบริหารจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ยังต้องสามารถประเมิน การบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม โดยระบุความเสี่ยงด้านปัจจัยการบริหารจัดการวิจัย กำหนดแผน/กลไก/มาตรการรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายใน กำหนดแผน/กลไก/มาตรการรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายใน ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม และทบทวน ถอดบทเรียนจากความเสี่ยงที่ได้รับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  ผู้จัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการ นักวิจัย

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- การบริหารความเสี่ยงแหล่งทุน หน่วยงาน- กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00541 บริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 1. เข้าใจระบุปัจจัยความเสี่ยงในกระบวนการวิจัย 00541.01 186317
00541 บริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 2. กำหนดแผนรองรับความเสี่ยงเพื่อควบคุมกิจกรรมหรือแผนงาน วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม 00541.02 186318
00541 บริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 3. สื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงในระหว่างการดำเนินงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม 00541.03 186319
00541 บริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 4. ประเมินและตรวจสอบแผนงาน/กิจกรรม การบริหารจัดการความเสี่ยง 00541.04 186320
00542 ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 1. ระบุความเสี่ยงด้านปัจจัยการบริหารจัดการวิจัย 00542.01 186321
00542 ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 2. กำหนดแผน/กลไก/มาตรการรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายใน 00542.02 186322
00542 ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 3. กำหนดแผน/กลไก/มาตรการรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก 00542.03 186323
00542 ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 4. ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 00542.04 186324
00542 ประเมินการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 5. ทบทวน ถอดบทเรียนจากความเสี่ยงที่ได้รับ 00542.05 186325

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้และทักษะที่จำเป็น คือ การบริหารจัดการ ประสบการณ์ด้านการทำวิจัยและการสรรหาแหล่งทุน จริยธรรมและจรรยาบรรณการวิจัยรวมถึงการออกแบบการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการบริหารทรัพยากรในการวิจัย




- ความรู้การบริหารจัดการความเสี่ยง การบริหารทรัพยากรวิจัย การวิเคราะห์ความเสี่ยง การวางแผนและการประเมินผล  




- ความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ โครงสร้างการบริหารแหล่งผู้ให้ทุนทั้งในและต่างประเทศที่สอดคล้องเกี่ยงข้องกับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมนั้นๆ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความต้องการด้านทักษะ




- ทักษะในการจัดการ 




- ทักษะในการบริหาร




- ทักษะในการแก้ไขปัญหา




- ทักษะในการประเมินผล




- ทักษะทางการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ




- ทักษะในการวางแผนกลยุทธ์




- ทักษะในการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค




- ทักษะในการบริหารทรัพยากรการวิจัย




- ทักษะในการวิเคราะห์ความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความต้องการด้านความรู้




- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ 




- ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร




- ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา




- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผล




- ความรู้เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ




- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์




- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค




- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แผนปฏิบัติการ/แนวทาง/ผลงานวิจัย ในการบริหารจัดการความเสี่ยงการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม




- รายงานการประเมิน/ความสำเร็จ หรือผลลัพธ์จากการบริหารจัดการความเสี่ยง




- ใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- คุณวุฒิ/ใบรับรองการอบรม การวิเคราะห์ความเสี่ยง การบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม




- ใบรับรองจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต้นสังการในการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

-    มีความเข้าใจการบริหารงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เศรษฐกิจ สังคม และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ได้อย่างเหมาะสมกับผลงานวิจัยนั้น 

-    สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบทที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดลำดับความรุนแรงความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการบริหารจัดการ การดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม และสามารถจัดทำแผน/กิจกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 

-    รองรับการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management ) ซึ่งหมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับ พร้อมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ๆ เพื่อรองรับให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นผลตามเป้าหมายที่วางไว้  โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัย 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งผลักดันจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาครัฐ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น และปัจจัยภายใน เช่น การปรับระบบการดำเนินการงาน การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น (อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)  กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงยังเป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งของการจัดการความรู้ เพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยภายใน ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ โดยกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยการเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) การสื่อสาร (Communication) กระบวนการและเครื่องมือ (Process and Tools) การเรียนรู้ (Learning) และการวัดผล (Measurement)

1. คำแนะนำ 

N/A

2. คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ