หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-YOPK-247B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม โดยเข้าใจการติดตามและประเมินผล ระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานวิจัย จัดทำเอกสารคู่มือการติดตามประเมินผลที่สอดคล้องเหมาะสมกับงานวิจัย ประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลวของระบบวิจัยบริหารจัดการวิจัย และจัดทำแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม นอกจากนี้ยังสามารถจัดทำแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ทางเลือกใหม่ โดยพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม และเสนอแนะ ทางเลือกการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับโครงการและบริบทที่เปลี่ยนแปลง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ผู้จัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการ นักวิจัย

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)- กฎระเบียบของแหล่งทุน- กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง- พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2564- พ.ร.บ. ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พ.ศ. 2564

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00531 ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 1. เข้าใจการติดตามและประเมินผล ระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานวิจัย 00531.01 186311
00531 ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 2. จัดทำเอกสารคู่มือการติดตามประเมินผลที่สอดคล้องเหมาะสมกับงานวิจัย 00531.02 186312
00531 ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม  3. ประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลวของระบบวิจัยบริหารจัดการวิจัย 00531.03 186313
00531 ติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 4. จัดทำแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 00531.04 186314
00532 จัดทำแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ทางเลือกใหม่ 1.พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 00532.01 186315
00532 จัดทำแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ทางเลือกใหม่ 2. เสนอแนะ ทางเลือกการบริหารจัดการงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับโครงการและบริบทที่เปลี่ยนแปลง 00532.02 186316

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- การติดตามและประเมินผลระบบบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เป็นการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ครอบคลุมการประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลวของการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อหาแนวทางหรือทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอก ที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 




- ความรู้และทักษะที่จำเป็นที่สามารถมาใช้เพื่อการติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เช่น การประเมินโครงการ การประเมินความเสี่ยง การศึกษาความเป็นไปได้ การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ของโครงการ (Cost - Benefit Analysis) เพื่อประเมินความคุ้มค่า การบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เชิงพาณิชย์ เศรษฐกิจ และสังคม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความต้องการด้านทักษะ




- ทักษะในการจัดการ 




- ทักษะในการบริหาร




- ทักษะในการแก้ไขปัญหา




- ทักษะในการประเมินผล




- ทักษะทางการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ




- ทักษะในการวางแผนกลยุทธ์




- ทักษะในการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค




- ทักษะในการบริหารทรัพยากรการวิจัย




- ทักษะในการวิเคราะห์ความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความต้องการด้านความรู้




- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ 




- ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร




- ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา




- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผล




- ความรู้เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ




- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์




- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค




- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสาร/คำรับรองจากหน่วยงานให้ทุน/ หน่วยงานต้นสังกัด ด้านประสบการการณ์ การติดตามประเมินผล 




- ผลงานวิจัย




- ใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- เอกสาร/ผลงานวิจัย ด้านติดตามและประเมินผล การดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม การนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 




- คุณวุฒิทางการศึกษา  




- เอกสารประสบการณ์การประเมินผล




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

-    มีความรู้ และกระบวนการการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการโครงการ/การบริหารจัดการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีความรู้และเข้าใจระบบการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม  

-    สามารถเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เศรษฐกิจ สังคม และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ได้อย่างเหมาะสมกับผลงานวิจัยนั้น และสามารถวิเคราะห์ และพัฒนาเครื่องมือติดตามและประเมินการดำเนินงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมได้ 

-    การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management ) หมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับ พร้อมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ๆ เพื่อรองรับให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นผลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัย 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งผลักดันจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาครัฐ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น และปัจจัยภายใน เช่น การปรับระบบการดำเนินการงาน การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น (อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)  กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงยังเป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งของการจัดการความรู้ เพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยภายในที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ โดยกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยการเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) การสื่อสาร (Communication) กระบวนการและเครื่องมือ (Process and Tools) การเรียนรู้ (Learning) และการวัดผล (Measurement)

1. คำแนะนำ 

N/A

2. คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ