หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดทรัพยากรที่ใช้การวิจัย

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-QALG-240B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดทรัพยากรที่ใช้การวิจัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถแสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญในงานวิจัย เลือกผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้อย่างเหมาะสมและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมกับงานวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00141 แสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ 1. เข้าใจข้อเสนอโครงการวิจัยที่นำเสนออย่างถ่องแท้ 00141.01 186263
00141 แสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ 2. รอบรู้เกี่ยวกับแหล่งทุนที่เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย 00141.02 186264
00141 แสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ 3. เข้าใจความต้องการของแหล่งทุน  00141.03 186265
00141 แสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ 4. นำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยต่อแหล่งทุนได้ 00141.04 186266
00141 แสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ 5. สร้างความเชื่อมั่นให้กับแหล่งทุน 00141.05 186267
00142 เลือกผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย 1. ศึกษาประวัติของนักวิจัยที่จะเข้าร่วมงานวิจัยก่อนที่จะคัดเลือก 00142.01 186268
00142 เลือกผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย 2. เลือกนักวิจัยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญในงานวิจัยนั้นๆ 00142.02 186269
00143 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานได้เหมาะสมกับงานวิจัย 1.ประมาณการระยะเวลาในการทำงานของเนื้องานในแต่ละกิจกรรมของงานวิจัยได้อย่างเหมาะสม 186270
00143 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานได้เหมาะสมกับงานวิจัย 2. ดำเนินการทำวิจัยได้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ 186271

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการบริหารจัดการ




- ทักษะการกำหนดระยะเวลาให้เป็นไปตามงบประมาณ




- ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ




- ความรู้เกี่ยวกับแหล่งทุนที่เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายในการดำเนินการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอโครงการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบของแหล่งทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




แผนการดำเนินการวิจัย แผนปฏิบัติงาน (Action Plan) แผนการใช้งบประมาณ ประสิทธิผลการหาแหล่งทุน และได้รับการสนับสนุนทุน ใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง หลักฐานการนำเสนอทุนโครงการวิจัยที่ได้รับการคัดเลือก




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย (Certificate จาก PMI)




- ใบผ่านการฝึกอบรม Project Manager




3. คำแนะนำในการประเมิน




เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินการปฏิบัติงาน โดยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น สมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึงการแสวงหาแหล่งทุนที่ตรงกับความเชี่ยวชาญ โดยเข้าใจข้อเสนอโครงการวิจัยที่นำเสนออย่างถ่องแท้และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนที่เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย เข้าใจความต้องการของแหล่งทุน นำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยต่อแหล่งทุนได้และสร้างความเชื่อมั่นให้กับแหล่งทุนได้ สมรรถนะย่อยถัดมากล่าวถึงการเลือกผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย โดยศึกษาประวัติของนักวิจัยที่จะเข้าร่วมงานวิจัยก่อนที่จะคัดเลือกเพื่อที่จะเลือกนักวิจัยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญในงานวิจัย สมรรถนะย่อยสุดท้ายกล่าวถึงการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานได้เหมาะสมกับงานวิจัย โดยประมาณการระยะเวลาในการทำงานของเนื้องานในแต่ละกิจกรรมของงานวิจัยได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะควบคุมการดำเนินการทำวิจัยได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
1. คำแนะนำ 
N/A
2. คำอธิบายรายละเอียด
N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบความรู้โดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ