หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-OURV-250B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถสรรหาแหล่งที่มาของโจทย์วิจัยได้ และคัดกรองข้อมูลจากแหล่งที่มาเพื่อกำหนดโจทย์และมองคาดการณ์ไปยังประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111 ระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย 1. รู้จักแหล่งที่มาของการหาข้อมูลเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย 01111.01 186336
01111 ระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย 2. รู้จักผู้ร่วมวิจัยว่ามีความเชี่ยวชาญทางด้านใด 01111.02 186337
01111 ระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย 3. หาข้อมูลเพื่อเตรียมคัดเลือกโจทย์วิจัย 01111.03 186338
01112 คัดกรองข้อมูลจากแหล่งที่มาเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย 1.เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจากแหล่งที่มาแต่ละแห่ง 186339
01112 คัดกรองข้อมูลจากแหล่งที่มาเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย 2. วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อเลือกประเด็นในการกำหนดโจทย์วิจัย 186340

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ




- ทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่องานวิจัย




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการนำเข้าหรือบันทึกข้อมูล




- ทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล




- ทักษะในการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูล




- ทักษะในการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล




- ทักษะในการประมวลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ




- ความรู้เกี่ยวกับการนำเข้าหรือบันทึกข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล



- ความรู้เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินการปฏิบัติงาน โดยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น สมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึงการระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย โดยรู้จักแหล่งที่มาของการหาข้อมูลเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย รวมถึงรู้จักความเชี่ยวชาญของนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการและเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการคัดเลือกโจทย์วิจัย สมรรถนะย่อยถัดมากล่าวถึงการคัดกรองข้อมูลจากแหล่างที่มาเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย โดยเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจากแหล่งที่มาแต่ละแห่ง และวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อเลือกประเด็นในการกำหนดโจทย์วิจัย
1. คำแนะนำ 
- ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์การวิจัย
- ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างชัดเจนและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การวิจัย
- ผู้เข้ารับการประเมินนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาประมวลเพื่อเตรียมสรุปและอภิปรายผลการวิจัยได้
- ผู้เข้ารับการประเมินปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสรุปและอภิปรายผลการวิจัยได้
2. คำอธิบายรายละเอียด
แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยมาจากหลากหลายที่มา เท่าที่สามารถระบุได้ มีดังนี้
- ประสบการณ์ของผู้วิจัย
- การปฏิบัติงาน
- นโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ หรือความต้องการของหน่วยงาน
- รายงานหรือผลงานวิจัยของบุคคลอื่น
- ทฤษฎี แนวคิด หลักการหรือข้อเสนอแนะด้านต่างๆ
- การเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/เสวนา
- ข่าว สถานการณ์ ปรากฏการณ์ทางสังคม
- การอ่านหนังสือ ตำรา บทความด้านต่างๆ
- Web site, Internet
- หัวข้อวิจัยจากหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
แนวทางการเลือกหัวข้อเรื่อง/ปัญหาในการวิจัย
- ความสนใจใคร่รู้ของผู้วิจัย
- ความสำคัญ/ความน่าสนใจของประเด็น
- ประโยชน์ต่อสังคม/ส่วนรวม/วิชาชีพ/วิชาการ
- ความสอดคล้องกับความสามารถของผู้วิจัย
- ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ
- งบประมาณเพียงพอ
- จริยธรรมและคุณธรรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ