หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-CODD-271B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ โดยคัดเลือกวารสารวิชาการที่ตรงตามขอบเขตการวิจัยและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จัดรูปแบบของบทความวิจัยให้ตรงตามมาตรฐานที่วารสารวิชาการกำหนดได้ และปรับแก้บทความวิจัยตามที่ผู้ประเมินของวารสารวิชาการเสนอแนะได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งสามารถเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะและเครือข่ายเพื่อสร้างการรับรู้ โดยนำเสนอผลการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย และถ่ายทอดผลการวิจัยต่อสาธารณชนได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ โดยถ่ายทอดข้อเสนอแนะจากการวิจัย ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน และพัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00421 ส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ 1. คัดเลือกวารสารวิชาการที่ตรงตามขอบเขตการวิจัยและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 00421.01 186455
00421 ส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ 2. จัดรูปแบบของบทความวิจัยให้ตรงตามมาตรฐานที่วารสารวิชาการกำหนดได้ 00421.02 186456
00421 ส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ 3. ปรับแก้บทความวิจัยตามที่ผู้ประเมินของวารสารวิชาการเสนอแนะได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 00421.03 186457
00422 เสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะและเครือข่ายเพื่อสร้างการรับรู้ 1.นำเสนอผลการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย 186458
00422 เสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะและเครือข่ายเพื่อสร้างการรับรู้ 2. ถ่ายทอดผลการวิจัยต่อสาธารณชนได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย 186459
00423 ถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 1. ถ่ายทอดข้อเสนอแนะจากการวิจัย ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน  00423.01 186460
00423 ถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 2. พัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 00423.02 186461

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา โดยเฉพาะการเขียน




- ทักษะการนำเสนอ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความต้องการด้านทักษะ




- ทักษะในการคัดเลือกวารสารวิชาการ




- ทักษะในการจัดรูปแบบบทความวิจัย




- ทักษะในการปรับแก้บทความวิจัย




- ทักษะในการนำเสนอและถ่ายทอดผลการวิจัย




- ทักษะในการถ่ายทอดข้อเสนอแนะจากการวิจัย




- ทักษะในการพัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความต้องการด้านความรู้




- ความรู้เกี่ยวกับการคัดเลือกวารสารวิชาการ




- ความรู้เกี่ยวกับการจัดรูปแบบบทความวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการปรับแก้บทความวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอและถ่ายทอดผลการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดข้อเสนอแนะจากการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




- ใบรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)


การนำเสนอผลงานวิจัยเป็นพันธกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งที่นักวิจัยทุกคนควรต้องทำเมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยและจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยควรถือว่าการนำเสนอผลงานวิจัยเป็นหน้าที่ นักวิจัยอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ แบบที่ใช้กันมาก คือ การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ และการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2556)
การนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การนำเสนอโปสเตอร์ และการนำเสนอด้วยวาจา 1) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์แตกต่างจากการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ตรงที่การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์นั้นนักวิจัยให้โปสเตอร์ทำหน้าที่บอกเรื่องราวของผลงานวิจัย นักวิจัยมีหน้าที่ต้องรออยู่ใกล้ๆ โปสเตอร์และคอยตอบคำถามหรือให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่ผู้ชม และ 2) การเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจานั้นโดยทั่วไปมีเวลาจำกัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15 - 20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย และมีเวลา 10 - 15 นาที สำหรับการซักถามและให้ข้อเสนอแนะ การนำเสนอผลงานด้วยวาจาต่างจากการนำเสนอโปสเตอร์ผลงานวิจัย เพราะนักวิจัยต้องทำหน้าที่เสนอผลงานต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งต้องมีการเตรียมทั้งเอกสารและเตรียมความพร้อมของตัวนักวิจัยเองในการนำเสนอผลงานด้วย
สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ บทความวิจัยมีเนื้อหาสาระแบบเดียวกับรายงานวิจัยทั่วไป แต่ลักษณะของเนื้อหาสาระมีความกระชับรัดกุม มีแบบฉบับที่ให้สารสนเทศ และมีมาตรฐานเฉพาะเจาะจงสูงกว่าลักษณะของเนื้อหาสาระในรายงานการวิจัยทั่วไป เนื่องจากการนำเสนอบทความวิจัยมีความจำกัดของจำนวนหน้าในวารสาร และมีความจำกัดตามเวลาในการนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการ
1. คำแนะนำ 
- ผู้เข้ารับการประเมินคัดเลือกวารสารวิชาการได้ตรงตามขอบเขตการวิจัยและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- ผู้เข้ารับการประเมินจัดรูปแบบของบทความวิจัยให้ตรงตามมาตรฐานที่วารสารวิชาการกำหนดได้
- ผู้เข้ารับการประเมินปรับแก้บทความวิจัยได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้เข้ารับการประเมินนำเสนอผลการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย
- ผู้เข้ารับการประเมินถ่ายทอดผลการวิจัยต่อสาธารณชนได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
- ผู้เข้ารับการประเมินถ่ายทอดข้อเสนอแนะจากการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน
- ผู้เข้ารับการประเมินพัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. คำอธิบายรายละเอียด
โปสเตอร์นำเสนอผลงานวิจัยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1) ชื่อเรื่อง (Title) เป็นข้อความระบุวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย และบริบทของงานวิจัย 2) บทคัดย่อ (Summary) บทคัดย่อเป็นเนื้อหาสาระสรุปของงานวิจัย โดยมากนิยมเขียนเพียง 3 ประโยค คือ วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเรื่อง 3) บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and Related Literature) เป็นข้อความที่อธิบายถึงความเป็นมาของปัญหาวิจัยความสำคัญของงานวิจัย ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนักวิจัยสังเคราะห์สรุปสร้างเป็นกรอบแนวคิดและสมมติฐานวิจัย 4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) กรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและเครื่องมือวิจัย วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล กรณีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการบรรยายสนาม (Field) ที่ศึกษา การเลือกและลักษณะของกรณี (Case) ที่ศึกษา ขอบข่ายของข้อมูล วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 5) ผลการวิจัย (Research Results) เป็นการเสนอสาระส่วนที่เป็นสรุปผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป
สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา คือ 1) รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความยาว และรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกำหนดของการประชุมทางวิชาการ 2) สไลด์หรือ Power Point สำหรับใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา และ/หรือ 3) สำเนาเอกสารของสไลด์หรือ Power Point โดยทั่วไปสไลด์ผลงานวิจัยที่ใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวาจาควรประกอบด้วยสไลด์ 7 แผ่น ดังนี้ 1) ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย 2) ปัญหาวิจัย และความสำคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย 3) ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมุติฐานวิจัย 5) แบบแผนวิจัย ตัวแปร เครื่องมือวัดและคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 6) ผลการวิจัยที่สำคัญ และ 7) สรุปผลงานวิจัย และสไลด์ผลงานวิจัยที่ใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวาจา ควรประกอบด้วยสไลด์ 7 แผ่น ดังนี้ 1) ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย 2) ปัญหาวิจัย 3) ความสำคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย 4) ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมติฐานวิจัย 5) แบบแผนวิจัย การเลือกพื้นที่และผู้ให้ข้อมูล การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 6) ผลการวิจัยที่สำคัญ และ 7) สรุปผลงานวิจัย
เนื้อหาสาระของบทความวิจัยโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน คือ 1) บทคัดย่อ (Abstract) เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเรื่อง 2) ส่วนนำ (Introduction) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ส่วนแรกเป็นการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่าบทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้อย่างไรบ้างและนำมาสู่ปัญหาวิจัยอย่างไร ส่วนที่สองกล่าวถึงปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย ส่วนที่สาม คือ รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยรวมทั้งสมมติฐานการวิจัย ส่วนที่สี่เป็นรายงานระบุเหตุผลพร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในบทความวิจัยนี้ 3) วิธีการ (Methods) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยการบรรยายลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่างและวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ความสมบูรณ์ของกลุ่มตัวอย่าง นิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และข้อสังเกตที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะประกอบด้วยการบรรยายสนาม (Field) ที่ศึกษา การเลือกและลักษณะของกรณี (Case) ที่ศึกษา ขอบข่ายของข้อมูล วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) เริ่มต้นด้วยการบรรยายว่า ผู้วิจัยจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งการตีความ ในส่วนนี้มีการนำเสนอตารางและภาพประกอบเท่าที่จำเป็น 5) การอภิปรายและ/หรือการสรุป (Discussion and/or Conclusion) เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ประกอบกับการอธิบายว่าข้อค้นพบมีความขัดแย้ง/สอดคล้องกับสมมติฐานวิจัยและผลงานวิจัยในอดีตหรือไม่ และอย่างไร พร้อมทั้งเหตุผลที่เป็นเช่นนั้น ในตอนสุดท้ายเป็นการอภิปรายข้อจำกัดหรือข้อบกพร่อง ข้อดีเด่น ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ และข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป 6) ส่วนอ้างอิงและผนวก (References and Appendix) ส่วนอ้างอิงประกอบด้วยบรรณานุกรมและเชิงอรรถ ตลอดจนบันทึกหรือหมายเหตุของผู้วิจัย ส่วนที่เป็นผนวก คือ ส่วนที่ผู้วิจัยนำเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความ เช่น ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินโดยการทดสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 



 


ยินดีต้อนรับ