หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบรายงานการวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-KRBR-258B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบรายงานการวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล โดยกำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ วางโครงร่าง (Outline) รายงานการวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการฉบับร่าง ตรวจทานรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับร่าง เพื่อปรับปรุงและแก้ไข และจัดพิมพ์รายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล และนำส่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ อีกทั้งยังสามารถจัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ โดยค้นหาเวทีการประชุมวิชาการที่จะนำเสนอผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สมัครลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ออกแบบและผลิตสื่อที่ใช้ประกอบการนำเสนอ และเตรียมตัวนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01311 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ 01311.01 186379
01311 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล 2. วางโครงร่าง (Outline)รายงานการวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการฉบับร่าง 01311.02 186380
01311 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล 3. ตรวจทานรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับร่างเพื่อปรับปรุงและแก้ไข 01311.03 186381
01311 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล 4. จัดพิมพ์รายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากลและนำส่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ 01311.04 186382
01312 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ 1. ค้นหาเวทีการประชุมวิชาการที่จะนำเสนอผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 01312.01 186383
01312 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ 2. สมัครลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย 01312.02 186384
01312 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ 3. ออกแบบและผลิตสื่อที่ใช้ประกอบการนำเสนอ 01312.03 186385
01312 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ 4. เตรียมตัวนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ 01312.04 186386

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ทักษะการใช้โปรแกรมในการนำเสนอผลงานวิจัย อาทิ Power Point




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล




- ทักษะในการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม




- ทักษะในการสร้างเครือข่ายเพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการวิจัย




- ทักษะในการเขียนงานวิจัยที่เป็น Originality




- ทักษะในการศึกษาข้อมูลงานวิจัยจากวารสารหรือฐานข้อมูลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่




- ทักษะในการศึกษางานวิจัยจากแหล่งข้อมูลที่มีความทันสมัย




- ทักษะในการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดงานวิจัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม




- ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายเพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการเขียนงานวิจัยที่เป็น Originality




- ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาข้อมูลงานวิจัยจากวารสารหรือฐานข้อมูลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่




- ความรู้เกี่ยวกับการศึกษางานวิจัยจากแหล่งข้อมูลที่มีความทันสมัย




- ความรู้เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดงานวิจัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การจัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบรายงานการวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุม เผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ซึ่งบทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับรายงานการวิจัย (Research Report) ที่มีสาระและรูปแบบการนำเสนอคล้ายคลึงกัน แต่มีลักษณะต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัยเขียนขึ้นในรูปบทความวิชาการ (Academic Article) เพื่อนำเสนอข้อค้นพบเชิงประจักษ์และ/หรือ นวัตกรรมที่เป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยของตน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร รวมทั้งการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ เนื่องจากวารสารมีจำนวนหน้าจำกัด และการประชุมทางวิชาการมีเวลาจำกัด บทความวิจัยจึงมีความยาวจำกัด มีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัยโดยทั่วไป ประการที่สอง คือ บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย เพราะในระหว่างการดำเนินการวิจัย นักวิจัยอาจตัดตอนผลจากการวิจัยนำร่อง หรือผลงานวิจัยบางส่วน นำเสนอเป็นบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่หรือตรวจสอบความคิดได้ อันจะมีส่วนช่วยทำให้นักวิจัยได้แนวทางไปปรับปรุงโครงการวิจัยให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น บทความวิจัยจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยที่นักวิจัยนำเสนอก่อนรายงานการวิจัย และเป็นสารสนเทศที่ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัยที่มีการเผยแพร่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย และประการที่สาม คือ บทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ตามมาตรฐานสากลส่วนใหญ่มีคุณภาพสูงกว่ารายงานการวิจัยโดยทั่วไป เพราะการพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการ หรือการเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระและรูปแบบให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการจัดการประชุม
1. คำแนะนำ 
บทความวิจัยและรายงานการวิจัยมีความสำคัญต่อนักวิจัยและต่อแวดวงวิชาการ นักวิจัยที่เขียนบทความวิจัยได้อาศัยบทความวิจัยหรือรายงานการวิจัยของนักวิจัยอื่นในการสร้างผลงานของตน และจากการเขียนบทความวิจัยหรือรายงานการวิจัยก็ได้นำเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ รวมทั้งได้ตรวจสอบความคิดของตนไปด้วยในขณะเดียวกัน นอกจากนี้บทความวิจัยนั้นยังมีส่วนช่วยจุดประกายความคิดให้นักวิจัยได้สร้างผลงานใหม่สืบเนื่องต่อกันไปด้วย ดังนั้นบทความวิจัยจึงเป็นเอกสารทางวิชาการที่มีคุณค่ามากสำหรับนักวิชาการทุกคน โดยเฉพาะนักวิจัยและมีบทบาทสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมความรู้ในอดีตกับความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยในการสร้างเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการ ดังนั้นนักวิจัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของบทความวิจัยหรือรายงานการวิจัย ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของนักวิจัยทุกคนที่จะต้องเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสามารถเผยแพร่ได้ในระดับนานาชาติ
2. คำอธิบายรายละเอียด
Rosenthal และ Rosnow (1996) และ Turabian (1973) บทความวิจัยและรายงานการวิจัยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน ดังนี้ 1) บทคัดย่อ เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งฉบับ เนื้อหาสาระในส่วนนี้เป็นข้อความที่มีคำสำคัญ (Keywords) ทั้งหมดในบทความวิจัย และเป็นข้อความสั้น กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ 2) ส่วนนำ เนื้อหาสาระในส่วนนำของบทความวิจัยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ส่วนแรกเป็นการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่า บทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้อย่างไรบ้าง และนำมาสู่ปัญหาวิจัยอย่างไรการเขียนส่วนนำนิยมเขียนในลักษณะอ้างอิงเชื่อมโยงผลงานวิจัยในอดีตโดยชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาอะไรที่จำเป็นต้องทำวิจัยต่อและนำเข้าสู่ปัญหาวิจัย ส่วนที่สองกล่าวถึงปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย ส่วนที่สาม คือ รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยรวมทั้งสมมุติฐานการวิจัย ส่วนที่สี่เป็นรายงานระบุเหตุผลพร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในบทความวิจัยนี้ เพื่อเตรียมผู้อ่านให้สามารถเชื่อมโยงความคิดกับเนื้อหาสาระในส่วนต่อไป 
ในลำดับต่อไป 3) วิธีการ เนื้อหาสาระในส่วนวิธีการเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยการบรรยายลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่างและวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ความสมบูรณ์ของกลุ่มตัวอย่าง นิยามตัวแปรเครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และข้อสังเกตที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะประกอบด้วย การบรรยายสนาม (Field) ที่ศึกษาการเลือกและลักษณะของกรณี (Case) ที่ศึกษาขอบข่ายของข้อมูล วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหาสาระในส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มต้นด้วยการบรรยายว่า ผู้วิจัยจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งการตีความ ในส่วนนี้มีการนำเสนอตารางและภาพประกอบเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญในตารางหรือภาพต้องมีการบรรยายในส่วนที่เป็นข้อความด้วย มิใช่การเสนอตารางหรือรูปโดยไม่มีการบรรยาย 5) การอภิปรายและ/หรือการสรุปผลการวิจัย  บทความวิจัยในส่วนการอภิปราย และ/หรือการสรุป เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยประกอบกับการอธิบายว่าข้อค้นพบมีความขัดแย้ง/สอดคล้องกับสมมุติฐานวิจัย และผลงานวิจัยในอดีตอย่างไร พร้อมทั้งเหตุผลที่เป็นเช่นนั้น ในตอนสุดท้ายเป็นการอภิปรายข้อจำกัด หรือข้อบกพร่อง ข้อดีเด่น ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป 
และสุดท้ายคือ 6) ส่วนอ้างอิงและผนวก เนื้อหาสาระในบทความวิจัยส่วนสุดท้าย ได้แก่ส่วนอ้างอิงและผนวก ส่วนอ้างอิงประกอบด้วย บรรณานุกรม และเชิงอรรถ ตลอดจนบันทึกหรือหมายเหตุของผู้วิจัย ส่วนที่เป็นผนวกคือส่วนที่ผู้วิจัย นำเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความ เช่น ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบเนื้อหาสาระในบทความวิจัยกับรายงานการวิจัยโดยทั่วไป จะเห็นได้ว่าความจำกัดของเนื้อที่ในวารสารทำให้เนื้อหาสาระในบทความวิจัยมีขนาดสั้น กะทัดรัดมากกว่ารายงานการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาสาระในส่วนนำของบทความวิจัยจะสั้นและรัดกุมมาก เพราะบทนำ และบทที่สองเกี่ยวกับรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยใน รายงานวิจัยนั้นถูกหลอมรวมเป็นส่วนนำของบทความวิจัย นอกจากนี้เนื้อหาสาระในส่วนนำของบทความวิจัยยังเน้นการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัยใน
อดีตกับบทความวิจัย ดังจะเห็นได้จากบทความวิจัยส่วนใหญ่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล จะเริ่มส่วนนำโดยการอ้างอิงผลงานวิจัยในอดีตว่ามีส่วนทำให้เกิดบทความวิจัยนี้ได้อย่างไรทั้งสิ้น สำหรับเนื้อหาสาระในส่วนอื่นๆ แม้จะไม่แตกต่างจากรายงานการวิจัย แต่สาระในบทความวิจัยมีข้อความสั้น กะทัดรัดมากกว่าในรายงานการวิจัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



 


ยินดีต้อนรับ