หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สรรหาแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย และช่องทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-FFKO-236B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สรรหาแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัย และช่องทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถระบุหน่วยงานหรือสถานที่ที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย รวมทั้งประเมินแนวทางการใช้ประโยชน์และขยายผลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00151 ระบุหน่วยงานหรือสถานที่ที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย 1. ระบุประเภทงานวิจัยได้  00151.01 186236
00151 ระบุหน่วยงานหรือสถานที่ที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย 2. เลือกแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสม 00151.02 186237
00152 ประเมินแนวทางการใช้ประโยชน์และขยายผลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 1. เข้าใจงานวิจัยที่ดำเนินการอย่างถ่องแท้รู้วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย 186238
00152 ประเมินแนวทางการใช้ประโยชน์และขยายผลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2.ระบุประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยและสามารถระบุวิธีขยายผลจากประโยชน์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 186239

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย



- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการระบุวิธีการเผยแพร่งานวิจัย




- ทักษะในการประเมินแนวทางในการใช้ประโยชน์ของงานวิจัย




- ทักษะในการวางแผนการเผยแพร่งานวิจัย




- ทักษะในการประเมินปัญหา/อุปสรรคที่จะเกิดขึ้น




- ทักษะในการกำหนดแผนการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการเผยแพร่งานวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผน/ประสานงาน




- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




- แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์




- ข้อเสนอโครงการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น สมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึงการระบุหน่วยงานหรือสถานที่ที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย โดยระบุประเภทงานวิจัยได้ และเลือกแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสม สมรรถนะถัดมากล่าวถึงการประเมินแนวทางการใช้ประโยชน์และขยายผลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยเข้าใจงานวิจัยอย่างถ่องแท้และทราบวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย รวมถึงระบุประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยและสามารถระบุวิธีขยายผลจากประโยชน์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. คำแนะนำ
- ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดรูปแบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้เหมาะสมกับงานวิจัย
- ผู้เข้ารับการประเมินระบุหน่วยงานหรือสถานที่ที่สามารถเผยแพร่งานวิจัยได้
2. คำอธิบายรายละเอียด
การเผยแพร่งานวิจัย หมายถึง การให้ความรู้ การเผยแพร่และให้บริการผลงานวิจัย ผลงานวิชาการสู่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ (กรวรรณ สังขกร) ซึ่งในการเผยแพร่งานวิจัยนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับประเภทการนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัยแต่ละชิ้นงาน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัยจะประกอบไปด้วย 1) ประชุมวิชาการ 2) เผยแพร่ในรูปแบบโปสเตอร์ 3) นำเสนอในวารสารวิชาการ นอกจากนี้หากเป็นงานวิจัยในรูปแบบอื่น เช่น เพื่อการพัฒนานวัตกรรมหรือเพื่อการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมจริงๆ จะเน้นไปที่การนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเน้นไปที่วิธีการสื่อสาร และสื่อการเผยแพร่อื่นๆ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



 


ยินดีต้อนรับ