หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อำนวยความสะดวกในการสื่อสารภาษาต่างประเทศทั่วไปภายในหน่วยงาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-KGNU-687A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อำนวยความสะดวกในการสื่อสารภาษาต่างประเทศทั่วไปภายในหน่วยงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 2643) ล่ามและนักแปลภาษาทางการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
(รหัส ISCO 2643) ล่ามและนักแปลภาษาทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ล่ามและนักแปลภาษาทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10801.01

ถ่ายทอดข้อมูลทั่วไปภายในหน่วยงานระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรภายในหน่วยงานนอกเหนือจากแพทย์

1. รวบรวมข้อมูลทั่วไปภายในส่วนงานจากบุคลากรภายในหน่วยงาน

10801.01.01 186089
10801.01

ถ่ายทอดข้อมูลทั่วไปภายในหน่วยงานระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรภายในหน่วยงานนอกเหนือจากแพทย์

 2. ถ่ายทอดข้อมูลที่ได้รับให้แก่ผู้ป่วยได้รับทราบ

10801.01.02 186090
10801.02

อำนวยความสะดวกในการเป็นล่ามเมื่อต้องติดต่อประสานงานกับส่วนงานอื่นภายนอกหน่วยงานนอกเหนือจากแพทย์

1. อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก

10801.02.01 186091
10801.02

อำนวยความสะดวกในการเป็นล่ามเมื่อต้องติดต่อประสานงานกับส่วนงานอื่นภายนอกหน่วยงานนอกเหนือจากแพทย์

2. เป็นล่ามชี้แจงข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและญาติ

10801.02.02 186092

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1 มีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาต้นทางและภาษาปลายทางได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน



    2. สามารถวิเคราะห์หรือตัดสินใจในเรื่องที่สื่อสารได้



    3. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. มีความรู้ในภาษาต้นทางและภาษาปลายทางอย่างชำนาญ



    2. มีความรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางการแพทย์เบื้องต้น



    3. มีความรู้ทางด้านวัฒนธรรมของภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน

      (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

     2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ

รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย 

ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนจำลองสถานการณ์ภายใต้การจำลอง

สถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการถ่ายทอดข้อมูลทั่วไปภายในหน่วยงาน 

ด้วยภาษาปลายทางและเป็นล่ามในการติดต่อกับส่วนงานอื่นในหน่วยงานหรือนอกหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ

รักษาโดยแพทย์ให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ 

ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน

หน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ข้อมูลทั่วไปภายในส่วนงาน หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ป่วยควรทราบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายใน

ห้องตรวจ ห้องรักษาอาการป่วยต่างๆ ภายในหน่วยงานเช่น ข้อมูลประกันสุขภาพ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อภายใน ตำแหน่งแผนกต่างๆ เป็นต้น  

2. ส่วนงานอื่นภายนอกหน่วยงาน หมายถึง ส่วนงานหรือองค์กรที่ไม่ได้ตั้งอยู่ภายในหน่วยงาน แต่มีการ

ติดต่อประสานงานร่วมกับหน่วยงานในด้านต่างๆเช่น บริษัทประกันชีวิต ศูนย์บริการสุขภาพ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้



2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ