หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XREP-686A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3434) ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดอาหารในถาดอาหารของผู้ป่วยเฉพาะโรคและเสิร์ฟอาหารได้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะและน่ารับประทาน รวมถึงจัดและแก้ไขสัดส่วนอาหารในถาดอาหารของผู้ป่วยเฉพาะโรคให้เป็นไปตามบัตรกำกับอาหารและป้องกันสิ่งปนเปื้อนอันตรายในอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารในโรงพยาบาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10708.01

จัดอาหารได้อย่างถูกสุขลักษณะและน่ารับประทาน ตามคำสั่ง

1. จัดอาหารและเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ

10708.01.01 186085
10708.01

จัดอาหารได้อย่างถูกสุขลักษณะและน่ารับประทาน ตามคำสั่ง

2. จัดวางอาหารให้ดูน่ารับประทาน

10708.01.02 186086
10708.02

จัดอาหารให้ได้สัดส่วนตามบัตร กำกับอาหาร (Diet Slip)

1. จัดและแก้ไขสัดส่วนอาหารในถาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัตรกำกับอาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค 

10708.02.01 186087
10708.02

จัดอาหารให้ได้สัดส่วนตามบัตร กำกับอาหาร (Diet Slip)

2. ป้องกันสิ่งปนเปื้อนอันตรายในอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

10708.02.02 186088

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดตกแต่งอาหารให้น่ารับประทาน



2. การเตรียม วัสดุเพื่อใช้ในการตกแต่ง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การสุขาภิบาลอาหาร



2. หลักการจัดตกแต่งอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นผู้ประกอบอาหารต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ที่ออกโดยหน่วยงานต้นสังกัด

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือ

    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยตามขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่าน ให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. วิธีการประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และการประเมินภาคปฏิบัติด้วยการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน  


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจัดอาหารในถาดอาหารของผู้ป่วยเฉพาะโรคและเสิร์ฟอาหารได้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะและน่ารับประทาน รวมถึงจัดสัดส่วนอาหารในถาดอาหารของผู้ป่วยเฉพาะโรคให้เป็นไปตามบัตรกำกับอาหารและตรวจสอบความสะอาดของอาหารให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร  

2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. บัตรกำกับอาหาร หมายถึง ใบกำหนดสัดส่วน ปริมาณและพลังงานของอาหารในแต่ละมื้อที่ถูกกำหนดโดยนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหารเช่น ปริมาณข้าวสวย ปริมาณผักในจาน ปริมาณเนื้อสัตว์ในมื้ออาหาร พลังงานทั้งหมดของอาหาร

2. สิ่งอันตรายในอาหาร หมายถึง ปัจจัยที่อยู่ในอาหารที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคไม่ว่าจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ มี 3 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางเคมี และปัจจัยทางชีวภาพ

3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสถานการณ์จำลอง 

-  เตรียมอาหารปรุงสำเร็จสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น แกงจืดลดกาก  แกงจืดลดโซเดียม       

-    บัตรกำกับอาหาร (Diet Slip) 

-    ภาชนะ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้



2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมินภาคปฏิบัติ



3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ