หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบของงานด้านรหัสทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-AKQA-659A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบของงานด้านรหัสทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3252) นักเวชสถิติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะจัดการรหัสทางการแพทย์ ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์ รวมถึงให้คำแนะนำและบูรณาการความรู้ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเวชสถิติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10404.01

จัดการรหัสทางการแพทย์

1. ให้รหัสโรค หัตถการและผ่าตัด 10404.01.01 185899
10404.01

จัดการรหัสทางการแพทย์

2. ให้รหัสสาเหตุการตาย

10404.01.02 185900
10404.01

จัดการรหัสทางการแพทย์

3. ให้รหัสเนื้องอก มะเร็ง และสัณฐานวิทยา 10404.01.03 185901
10404.02

ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์

1. ประเมินคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์

10404.02.01 185902
10404.02

ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์

2.  ติดตามระบบการประเมินคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ 10404.02.02 185903
10404.02

ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์

3. ให้คำแนะนำจากผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการให้รหัสทางการแพทย์ 10404.02.03 185904
10404.03

ปฎิบัติตามหลักจริยธรรมด้านการให้รหัสทางการแพทย์

1. ใ้ห้รหัสทางการแพทย์ตามมาตรฐานการให้ตามคู่มือแนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรค

10404.03.01 185905
10404.03

ปฎิบัติตามหลักจริยธรรมด้านการให้รหัสทางการแพทย์

2. เก็บรักษาความลับข้อมูลของผู้ป่วยที่ปรากฏในเวชระเบียน 10404.03.02 185906

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการให้รหัสทางการแพทย์

2. ทักษะในการตรวจสอบการให้รหัสทางการแพทย์

3. ทักษะการอ่านและเข้าใจคู่มือ เวชระเบียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4. ทักษะการวิเคราะห์และให้รหัสสาเหตุการตาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในเรื่องการให้รหัสโรค หัตถการ และรหัสผ่าตัด

2. ความรู้เรื่องการใช้รหัสโรคผู้ป่วยและรหัสหัตถการ

3. ความรู้พื้นฐานศัพท์แพทย์ คำย่อทางการแพทย์

4. ภาษาที่ใช้ใน ICD

5. ภาษาอังกฤษ

6. ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายโรงพยาบาล (Hospital Information System:HIS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน 

2.    เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

3.    เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

1.    ผลการทดสอบความรู้

2.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

3.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับ

การรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถบริหารจัดการระบบงานเวชสถิติได้อย่าง

ทั่วถึง สามารถดูแลฐานข้อมูลเวชสถิติได้อย่างปลอดภัย และมีทักษะในการใช้รหัสโรคผู้ป่วย รหัสหัตถการ สาเหตุการตายได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย



สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้

ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



รหัสโรคผู้ป่วย (ICD-10) หมายถึง รหัสโรคที่อ้างอิงจากบัญชีการจำแนกโรคระหว่างประเทศ

(International Statistical of Disease and Related Health Problems 10th) ที่ใช้แทนชื่อโรคหรือภาวะการเจ็บป่วย เช่น Hypertension ใน ICD-10 จะใช้แทนด้วยรหัส I10



รหัสหัตถการ (ICD-9-CM) หมายถึง รหัสการผ่าตัดหรือหัตถการที่อ้างอิงจากบัญชีการจำแนกการ

ผ่าตัดและหัตถการ (International Classification of Diseases Ninth Revision Clinical Modification) เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง (Appendectomy) จะใช้แทนด้วยรหัส 47.09



สาเหตุการตาย (Causes of death) ประกอบด้วย โรคหรือความผิดปกติหรือการบาดเจ็บจาก

เหตุการณ์หลายอย่าง เช่น อุบัติเหตุ การถูกทําร้าย เป็นต้น ประกอบกันจนทําให้ตาย



การวินิจฉัยหลัก/โรคหลัก คือ ข้อวินิจฉัยโรคในตอนสุดท้ายของการดูแลรักษาผู้ป่วยในรวมถึงผู้ป่วย

นอก โดยต้องเป็น โรคที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคหลายโรคปรากฏ ขึ้นพร้อมๆ กันให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดหรือโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุดเป็นการวินิจฉัยหลัก



การวินิจฉัยร่วม/โรคร่วม คือ โรคที่ปรากฏรวมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก และเป็นโรคที่มีความ

รุนแรงของโรคมากพอที่จะทําใหผู้ป่วยมีความเสี่ยงชีวิตสูงมากขึ้น หรือใชทรัพยากรในการรักษา เพิ่มขึ้นระหวางการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้ 



โรคแทรก คือ โรคที่ไม่ปรากฏร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักแต่แรก แต่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเข้า

รับการรักษาในโรงพยาบาลไปแล้ว  และเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมี ความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมากขึ้นหรือใช้ทรัพยากรในการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้ 



การวินิจฉัยอื่นๆ/โรคอื่นๆ คือโรคของผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายคำจำกัดความของการวินิจฉัยหลัก การ

วินิจฉัยร่วมหรือโรคแทรก กล่าวคือเป็นโรคที่ความรุนแรงของโรคไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความ เสี่ยงต่อชีวิตสูงมากขึ้น หรือเป็นโรคที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในการรักษาเพิ่มขึ้นระหว่างการรักษาตัวใน โรงพยาบาลครั้งนี้ อาจเป็นโรคที่พบร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก  หรือพบหลังจากเข้ารักษาตัวใน โรงพยาบาลแล้วก็ได้



กลไกการบาดเจ็บหรือกลไกการได้รับพิษ/สาเหตุการป่วย/บาดเจ็บคือ ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ

ผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าบาดเจ็บมาอย่างไรเป็นอุบัติเหตุถูกทำร้าย ฆ่าตัวตายฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียประชาชนก่อนวัยอันสมควร 



การผ่าตัดคือการใช้เครื่องมือกระทำต่ออวัยวะต่างๆ โดยอาศัยทักษะที่ได้รับการฝึกฝนจากการศึกษา วิชาชีพ แพทย์หรือทันตแพทย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการบำบัดรักษาโรคหรือแก้ไขความพิการ บกพร่องในโครงสร้างทางกายภาพของผู้ป่วย และโดยทั่วไปดำเนินการในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล

แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคสำหรับเจ้าหน้าที่ให้รหัสโรคใช้เป็น แนวทางมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้

ข้อมูลถูกต้องและมีคุณภาพสามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ทั้งประเทศICD-10 TM หมายถึง การสร้างระบบรหัสหัตถการ​สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีทั้งรหัสโรคและหัตถการ



สัณฐานวิทยา (ICD-O) หมายถึง รหัสลักษณะเซลล์เนื้องอก หรือการจำแนกโรคเนื้องอกระหประเทศ





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้

2. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ