หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุม กำกับ และประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MAOI-658A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุม กำกับ และประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3252) นักเวชสถิติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะการควบบคุม กำกับ งานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ โดยการตรวจสอบ การยืม คืน และการให้บริการ ตลอดจนประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ จากการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผล จัดทำรายงาน กำหนดแนวทางการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และกำหนดรูปแบบการบันทึกรหัสด้านสุขภาพของสถานพยาบาลได้ตามความเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเวชสถิติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10403.01

ควบคุม กำกับงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

1. ตรวจสอบ การยืม คืน และการให้บริการงานเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์ 10403.01.01 185892
10403.01

ควบคุม กำกับงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

2. จัดการงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก  10403.01.02 185893
10403.01

ควบคุม กำกับงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

3. ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 10403.01.03 185894
10403.02

ประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

1. รวบรวมข้อมูลบริการงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ 10403.02.01 185895
10403.02

ประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

2. วิเคราะห์ สรุปผล จัดทำรายงานการให้บริการงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ 10403.02.02 185896
10403.02

ประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

3. กำหนดแนวทางการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) 

10403.02.03 185897
10403.02

ประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

4. กำหนดรูปแบบการบันทึกรหัสด้านสุขภาพของสถานพยาบาลหรือตามข้อกำหนดของกองทุนประกันสุขภาพ ในระบบเวชระเบียนหรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล 10403.02.04 185898

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวิเคราะห์ระบบการให้บริการเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์

2. ทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบบริการเวชระเบียน

3. ทักษะในการบริหารจัดการงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับระบบการให้บริการเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์

2. ความรู้เกี่ยวกับระบบบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

3. ความรู้เกี่ยวกับรหัสด้านสุขภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

           หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการทดสอบความรู้

หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ

รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบครบทุกหน่วยสมรรถนะของระดับนี้  





15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุม กำกับ ประเมินผล

ระบบบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และสามารถวิเคราะห์ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเวชระเบียนเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้ได้มากขึ้น ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย



สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน

หน่วยสมรรถนะนี้



        (ข) คำอธิบายรายละเอียด



เวชระเบียนผู้ป่วยใน หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่บันทึกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับไว้รักษาภายใน

โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน



เวชระเบียนผู้ป่วยนอก หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่บันทึกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับไว้รักษาภายใน

โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก



ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การพัฒนาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่

อำนวยความสะดวกเพื่อการแพทย์ ซึ่งดำเนินการโดยจัดเก็บเอกสารผู้ป่วยทั้งแฟ้มโดยการสแกนภาพลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดี หรือฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น และการบันทึกข้อมูลประวัติผู้ป่วยเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสารและประโยชน์ในการสืบค้น



เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ประเภทต่างๆ เช่น เอกสาร/

คดี เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น



ข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือจากระบบสารสนเทศ

โรงพยาบาล หรือแฟ้มมาตรฐาน 43 แฟ้ม



รหัสด้านสุขภาพ หมายถึง รหัสที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบริหารจัดการรหัสยา

รหัสมาตรฐาน 24 หลัก (TMT), มาตรฐานข้อมูลสุขภาพ HL7, PACS  X-ray , SNOMED-CT, Diagnosis, ICD Code, รหัส UCEP, เบิกจ่าย Map Code กับ รหัสโรงพยาบาล, รหัสข้อมูลหมวดรายการค่าใช้จ่าย (BillGroup) 18 หมวด (Standard Items for Medical Billing (SIMB) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบแบบทดสอบความรู้



2. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ