หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการตรวจสอบภายใน

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-UALB-155A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการตรวจสอบภายใน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการเงิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบภายใน เช่น การสอบทานความเชื่อถือได้และความสมบูรณ์ของสารสนเทศด้านการบัญชี การเงินและการดำเนินงาน การประเมินการใช้ทรัพยากรว่าเป็นไปโดยความประหยัดและมีประสิทธิภาพ ฯลฯ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     บุคคลในกลุ่มวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     - มาตรฐานการรายงานทางการเงิน     - มาตรฐานการสอบบัญชี     - มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ สภาวิชาชีพบัญฃี ในพระบรมราชูปถัมภ์     - จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553     - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น กฎกระทรวง ประมวลรัษฎากร คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10606.01 รู้เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 1) อธิบายวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน 10606.01.01 185666
10606.01 รู้เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 2) อธิบายหลักการ มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลของการตรวจสอบภายใน 10606.01.02 185667
10606.01 รู้เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3) อธิบายวิธีการและเทคนิคการตรวจสอบภายใน 10606.01.03 185668
10606.02 ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล 1) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ 10606.02.01 185669
10606.02 ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล 2) สอบทานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ 10606.02.02 185670
10606.02 ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล 3) วิเคราะห์ข้อมูลที่ทำการสอบทานแล้ว 10606.02.03 185671
10606.02 ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล 4) จัดทำรายงานการตรวจสอบภายใน 10606.02.04 185672
10606.02 ตรวจสอบภายในตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล 5) ติดตามผลการตรวจสอบภายใน 10606.02.05 185673

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     - ทักษะด้านการสังเกตุ

     - ทักษะด้านการรวบรวมข้อมูล

     - ทักษะด้านการวิเคราะห์ และสังเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     - มาตรฐานและวิธีปฎิบัติสำหรับการตรวจสอบภายใน

     - ภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

     - งบการเงิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ก. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

ข. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     ผลการสอบข้อเขียน

     หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับบัญชีการเงิน การเงิน และงบประมาณ

     หลักฐานแสดงหน่วยกิต/ชั่วโมงจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

ค. คำแนะนำในการประเมิน

     เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

ง. วิธีการประเมิน

     การสอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบภายในสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรวมถึง การรวบรวม สอบทานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ จัดทำรายงานการตรวจสอบภายใน และการติดตามผลการตรวจสอบภายใน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     การตรวจสอบภายในหมายถึง กิจกรรมการให้หลักประกันอย่างเที่ยงธรรมและการให้คำปรึกษาอย่างเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ (ที่มา:The Institute of Internal Auditors: IIA)

มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลในการตรวจสอบภายใน หมายถึง มาตราฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในของ The Institute of Internal Auditors และแนวปฏิบัติการตรวจสอบภายในของกลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

     ประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ