หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการจัดทำงบประมาณ

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-WTOT-154A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการจัดทำงบประมาณ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการเงิน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนการเงินและการจัดทำงบประมาณสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     บุคคลในกลุ่มวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์ ช่างอาคารเพื่อการพาณิชย์ และนักบริหารพื้นที่เช่าอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10605.01 รู้เกี่ยวกับการทำงบประมาณในการบริหารอาคาร 1) อธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์งบการเงิน 10605.01.01 185659
10605.01 รู้เกี่ยวกับการทำงบประมาณในการบริหารอาคาร 2) อธิบายความสำคัญของงบประมาณในการบริหารอาคาร 10605.01.02 185660
10605.01 รู้เกี่ยวกับการทำงบประมาณในการบริหารอาคาร 3) อธิบายหลักการ มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลในการจัดทำงบประมาณ 10605.01.03 185661
10605.01 รู้เกี่ยวกับการทำงบประมาณในการบริหารอาคาร 4) อธิบายขั้นตอนและข้อกำหนดของการจัดทำงบประมาณในการบริหารอาคาร 10605.01.04 185662
10605.02 จัดทำงบประมาณประจำงวด 1) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณ 10605.02.01 185663
10605.02 จัดทำงบประมาณประจำงวด 2) จัดทำงบประมาณตามข้อกำหนดของแต่ละช่วงเวลา 10605.02.02 185664
10605.02 จัดทำงบประมาณประจำงวด 3) นำเสนองบประมาณให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบและรับรองตามข้อกำหนด 10605.02.03 185665

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     ทักษะการวิเคราะห์

     ทักษะด้านการวางแผน

     ทักษะด้านการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     งบการเงิน

     งบประมาณ

     ภาษีที่เกี่ยวข้องกับอาคารเพื่อการพาณิชย์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ก. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

ข. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     ผลการสอบข้อเขียน

     หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับบัญชีการเงิน หรือ การเงิน และงบประมาณ

     หลักฐานแสดงหน่วยกิต/ชั่วโมงจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับการวางแผน

ค. คำแนะนำในการประเมิน

     เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

ง. วิธีการประเมิน

     การสอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

          ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ การจัดทำแผน การประเมินแผนงบประมาณ และการปรับปรุงพัฒนาแผนงบประมาณ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          งบประมาณในการบริหารอาคารเพื่อการพาณิชย์ หมายถึงแผนซึ่งแสดงผลของการตัดสินใจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการบริหารอาคารเพื่อการพาณิชย์โดยแสดงเป็นตัวเงิน งบประมาณเป็นแผนทางการเงินอย่างกว้างสำหรับทั้งกิจการซึ่งเป็นการนำงบประมาณของหลายหน่วยงานในกิจการมารวมกัน งบประมาณหลัก (Master Budget) ประกอบด้วยงบประมาณดำเนินงาน (Operating Budgets) และงบประมาณการเงิน (Financial Budgets)

          มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลในการทำงบประมาณหมายถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ตัวอย่างของแนวปฏิบัติสากล เช่น



การจัดทำงบประมาณต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและได้รับความร่วมมือจากหัวหน้างานทุกระดับ



การจัดทำงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับระบบบัญชี



การจัดทำงบประมาณต้องจัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงทั้งหมดและใช้เทคนิคทางสถิติและอื่นๆเข้าช่วยในการใช้ดุลยพินิจในการกะประมาณการ



งบประมาณต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับสภาวการณ์อยู่เสมอ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



     ประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ