หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารรายรับและรายจ่าย

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-RYIX-153A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารรายรับและรายจ่าย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการเงิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารรายรับและรายจ่าย รวมถึงการวางแผน กำกับดูแล ประเมิน และพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการรายรับและรายจ่ายสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     บุคคลในกลุ่มวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารรายรับและรายจ่ายสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     •    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่น ประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เป็นต้น     •    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เป็นต้น     •    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น ประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เป็นต้น     •    มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10604.01 รู้เกี่ยวกับการบริหารรายรับและรายจ่ายในการบริหารอาคาร 1) อธิบายแหล่งที่มาของรายรับและรายจ่ายในการบริหารอาคาร 185648
10604.01 รู้เกี่ยวกับการบริหารรายรับและรายจ่ายในการบริหารอาคาร 2) อธิบายระบบ ขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 185649
10604.01 รู้เกี่ยวกับการบริหารรายรับและรายจ่ายในการบริหารอาคาร 3) ระบุรายรับและรายจ่ายในแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์ 185650
10604.02 วางแผนการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 1) รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.02.01 185651
10604.02 วางแผนการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.02.02 185652
10604.02 วางแผนการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 3) จัดทำแผนบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.02.03 185653
10604.02 วางแผนการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 4) กำหนดขั้นตอน วิธีปฏิบัติและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.02.04 185654
10604.02 วางแผนการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 5) พัฒนาการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.02.05 185655
10604.03 กำกับการจัดการรายรับและรายจ่าย 1) ควบคุมการจัดการรายรับและรายจ่ายให้ถูกต้องและเป็นไปตามข้อกำหนด 10604.03.01 185656
10604.03 กำกับการจัดการรายรับและรายจ่าย 2) แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการรายรับรายจ่าย 10604.03.02 185657
10604.03 กำกับการจัดการรายรับและรายจ่าย 3) ประเมินการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย 10604.03.03 185658

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     •    ทักษะความเป็นผู้นำ รวมถึง ด้านการมีวิสัยทัศน์ การกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม และ การสร้างทีมงาน

     •    ทักษะการกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา

     •    ทักษะการสื่อสาร

     •    ทักษะในการจัดการรายรับและรายจ่าย

     •    ทักษะด้านการวางแผน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     •    งบการเงิน เช่น สมุดรายวันทั่วไป งบกระแสเงินสด ฯลฯ

     •    บัญชีงบกระทบยอด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     •    หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     •    หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     •    ผลการสอบข้อเขียน

     •    หลักฐานแสดงหน่วยกิต/ชั่วโมงจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับบัญชีการเงิน หรือ การเงิน

     •    หลักฐานแสดงหน่วยกิต/ชั่วโมงจากการอบรม หรือการสัมมนาที่เกี่ยวกับการวางแผน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

     •    เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

     •    การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

    ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารรายรับรายจ่ายของอาคารเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ การจัดทำแผน การกำหนดขั้นตอนและวิธีปฎิบัติ การกำกับดูแล ควบคุมและตรวจสอบการปฎิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชา การประเมินแผน และการปรับปรุงพัฒนาแผนการบริหารรายรับรายจ่าย

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

     •    รายรับจากการบริหารอาคาร เช่น ค่าเช่า ค่าส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าธรรมเนียมต่างๆ ฯลฯ

     •    รายจ่ายจากการบริหารอาคาร เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน โบนัส ค่าสาธารณูปโภค ค่าจัดจ้างคนภายนอก ภาษีประเภทต่างๆ ฯลฯ

     •    เอกสารที่เกี่ยวกับรายรับ เช่น ใบสำคัญรับ สำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเสร็จ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำเนาบัตรประชาชน ฯลฯ

     •    เอกสารที่เกี่ยวกับรายจ่าย เช่น ใบสำคัญจ่าย ใบกำกับภาษี ใบเสร็จ บิลเงินสด หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำเนาบัตรประชานชน ฯลฯ

     •    เงินสดย่อยหมายถึงเงินสดจำนวนหนึ่งที่เบิกจากธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อจะได้มีไว้ใช้จ่ายสำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็คหรือโอนเข้าบัญชี

     •    การประมาณการเงินสดย่อยหมายถึงการปหฟระมาณวงเงินสดที่เหมาะสมในการให้ผู้รักษาเงินสดเก็บรักษาเพื่อจะได้มีไว้ใช้จ่ายสำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก    

     •    ค่าบริการ หมายถึง ค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้เช่าหรือผู้ใช้อาคารเป็นครั้งๆที่ผู้เช่าหรือผู้ใช้อาคารมาใช้บริการ เช่น ค่าจอดรถ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ฯลฯ

     •    ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการรายรับรายจ่าย เช่น การขาดสภาพคล่อง รายได้เรียกเก็บไม่ได้ รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ เอกสารผิดพลาด เอกสารสูญหาย รายจ่ายที่เกินกำหนดจ่าย เป็นต้น

     •    การประเมินการบริหารรายรับรายจ่าย หมายถึงการประเมินว่าการบริหารรายรับรายจ่ายบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนหรือไม่ โดยเปรียบเทียบค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดกับผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหาร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

     •    การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ