หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-AQQT-157A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1349 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วยการจัดการข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเช่น เจ้าของโครงการและผู้เช่า เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     •    ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์     •    ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 1) ติดต่อผู้ประสานงานของคู่กรณีแต่ละฝ่าย 10701.01.01 185686
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 2) ระบุข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้พร้อมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10701.01.02 185687
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 3) กำหนดแนวทางการจัดการข้อพิพาท 10701.01.03 185688
10701.01 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน 4) ดำเนินการจัดการข้อพิพาทตามแนวทางที่กำหนดและสอดคล้องกับข้อกฎหมาย 10701.01.04 185689
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 1) ระบุข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้พร้อมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10701.02.01 185690
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 2) กำหนดแนวทางการจัดการข้อพิพาท 10701.02.02 185691
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 3) ระบุขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การฟ้องศาลฎีกาและศาลปกครองได้ 10701.02.03 185692
10701.02 จัดการข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ 4) ติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติที่ภาครัฐกำหนด 10701.02.04 185693

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     •    ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     •    ทักษะด้านการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญา

     •    ทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการพูดให้เข้ากับสถานการณ์ จุดประสงค์และกับบุคคลที่แตกต่างกัน

     •    ทักษะในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

     •    ทักษะในการจัดการงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง 

     •    ทักษะในการสืบค้นความจริง และวินิจฉัยเหตุการต่างๆด้วยความเป็นกลางและไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ

     •    ทักษะด้านจิตวิทยามวลชน เช่น การไกล่เกลี่ยการประนีประนอม เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     •    ความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ

     •    ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

     •    ความรู้เรื่องสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐ และเอกชนกับเอกชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     •    หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

     •    หนังสือชมเชย โล่ประกาศเกียรติคุณ

     •    หนังสือรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     •    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     •    หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     •    หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

     หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 

     • ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

     • วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

     • ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     •    ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการติดต่อประสานงานและดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

(ก)    คำแนะนำ 

     ผู้ทดสอบต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการบริหารจัดการทรัพย์สินในความรับผิดชอบของตนเองโดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

     1.กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องได้แก่

          •    พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

          •    พระราชบัญญัติ การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542

          •    พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

          •    พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

          •    จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

          •    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          •    ประมวลกฎหมายอาญา

     ทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบ

          •    ทรัพย์สินในพื้นที่เช่า

          •    ทรัพย์สินส่วนกลาง

     2. การจัดการข้อพิพาท หมายถึง การบริหารจัดการคลี่คลายปัญหาเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น

     3. ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน หมายถึง ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานเอกชน เช่น เจ้าของอาคารและผู้เช่า เป็นต้น

     4. ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ หมายถึง ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานของรัฐ เช่น เจ้าของอาคาร และสำนักงานที่ดิน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

     •    ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย

 



ยินดีต้อนรับ