หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-LKXK-132A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2556

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

  • ISCO 1219 ผู้จัดการอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยทักษะความรู้เกี่ยวกับการวางแผนปรับปรุงการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ช่างอาคารเพื่อการพาณิชย์ นักบริหารพื้นที่เช่าอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ดูแลอาคารสถานที่อาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินและอาชีวอนามัย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร  รวมถึงด้านการตรวจสอบอาคาร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10205.01 วางแผนเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 1) วางแผนมาตรการเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้น 10205.01.01 185441
10205.01 วางแผนเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) กำหนดผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อหลังการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้น 10205.01.02 185442
10205.01 วางแผนเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 3) แนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 10205.01.03 185443
10205.02 ควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 1) สำรวจเพื่อเข้าใจสถานการณ์เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน 10205.02.01 185444
10205.02 ควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) ระบุวิธีการปรับปรุงการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินให้เหมาะสมกับสถานการณ์2) ระบุวิธีการปรับปรุงการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 10205.02.02 185445
10205.02 ควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 3) มอบหมายผู้รับผิดชอบให้ปฏิบัติงานต่อตามแผนที่กำหนดไว้ 10205.02.03 185446
10205.02 ควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน

4) อำนวยความสะดวกหน่วยงานที่ให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่

10205.02.04 185447
10205.02 ควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน 5) ปรับใช้มาตรการและเทคนิคให้เข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน 10205.02.05 185448
10205.03 ติดตามสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน 1) จัดการเคลียร์พื้นที่หน้างานภายหลังช่วงเหตุการณ์ฉุกเฉิน 10205.03.01 185449
10205.03 ติดตามสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน 2) ติดตามหน่วยงานต่าง ๆ ในการปฎิบัติงานต่อหลังการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้น 10205.03.02 185450
10205.03 ติดตามสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน 3) ประเมินความคืบหน้าสถานการณ์ 10205.03.03 185451
10205.03 ติดตามสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน 4) บันทึกรายงานเหตุการณ์ 10205.03.04 185452

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการเป็นผู้นำ รวมถึง ด้านการมีวิสัยทัศน์ การกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม และ การสร้างทีมงาน

  • ทักษะด้านการวางแผน

  • ทักษะการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคามในสถานที่ทำงาน

  • ทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการพูดในการอธิบายสถานการณ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน

  • ความเข้าใจในมิติด้านความปลอดภัยที่ปรากฏในแผนบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแผนผังของพื้นที่/ที่ทำการ และจุดที่ตั้งของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

  • ความรู้เรื่องกิจกรรมในอาคารและสถานที่

  • ความเข้าใจในภารกิจการรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวกับการประกันภัยและการบริหารจัดการทรัพย์สิน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

  3. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



 (ง) วิธีการประเมิน




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและรายละเอียดของอาคาร ระบบอาคาร รู้จักอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาคาร สามารถวางแผนในการควบคุม และจัดการที่เกี่ยวกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • ลักษณะและขอบเขตของเหตุการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ อัคคีภัยการทะเลาะวิวาท การต่อสู้กัน หรือการเผชิญหน้ากันทรัพย์สินได้รับความเสียหายการถูกล้อมพื้นที่ไว้การโจรกรรม ปล้นจี้การรั่วไหลของแก๊สการระเบิด / การขู่วางระเบิด การรบกวนหรือก่อกวนลูกค้าสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเยียวยา เช่น การบาดเจ็บ การลื่นล้ม การล้มป่วย หรือผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกาย/เหยื่อจากการโจมตี เป็นต้น

  • แผนการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management Plan)หมายถึง ชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นภายในองค์กรโดยในแผนดังกล่าวมีการจัดสรรบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ให้แก่พนักงานเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังให้น้อยที่สุดเป็นการรับมือกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือน และทำความเสียหายให้กับธุรกิจโดยภัยที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในระดับภัยพิบัติประกอบด้วย แผนการตระเตรียมทีมงานกู้ภัย (Emergency Response Team)เครื่องไม้เครื่องมือ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการกู้ภัยและแผนจัดการป้องกันกับผลกระทบจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติหรือวิกฤติที่เกิดขึ้นเพื่อจำกัดความเสียหายมิให้แผ่ขยายเกินกว่าที่ควรจะเป็นเป็นต้น




  • การติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน หมายถึง การประสานงานทางโทรศัพท์กับหน่วยงานดับเพลิง ตำรวจ แพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล และการใช้ช่องทางการสื่อสารในองค์กรในสภาวะฉุกเฉิน เช่น การติดต่อสายตรงกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องการติดต่อประสานงานกับผู้บริหารรวมถึง การแจ้งเตือนหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

  • การทำรายงาน มีการระบุตำแหน่งสถานที่ที่เกิดเหตุ จำนวน/ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง และศักยภาพในการยกระดับความรุนแรงหรือเพิ่มความรุนแรงทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง

  • การให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆได้แก่




  • การมอบหมายความรับผิดชอบให้แก่บุคคลผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินและนำพาไปสู่จุดเกิดเหตุ

  • การประสานงาน/ร้องขอให้ลูกค้าเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่จอดกีดขวาง

  • การประสานงานเคลื่อนย้ายยานพาหนะขององค์กร

  • การปลดล็อคประตูและเคลื่อนย้ายเครื่องกีดขวางต่าง ๆ

  • การเปิดเส้นทางเข้าสู่พื้นที่เกิดเหตุ

  • การจัดหาแผนผังอาคารสำหรับจุดเกิดเหตุ




  • การให้การรับมือช่วยเหลือเบื้องต้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ได้แก่

    • การให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    • การต่อสู้กับอัคคีภัย

    • การดำรงรักษาสถานการณ์ไม่ให้เลวร้าย/รุนแรงเพิ่มขึ้น

    • การปลอบประโลมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

    • การเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากจุดเกิดเหตุ

    • การดำรงรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยของบุคคลอื่น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย



 



ยินดีต้อนรับ