หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบเพื่อการบริหารการประหยัดพลังงาน

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-BZYF-164A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบเพื่อการบริหารการประหยัดพลังงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1219 ผู้จัดการอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยทักษะการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อบริหารให้บรรลุการประหยัดพลังงาน โดยทันกับเทคโนโลยีและนวตกรรมใหม่ ให้อยู่ในงบประมาณ โดย ครอบคลุมถึง ประเมินสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และงบประมาณ การวางวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์นโยบาย เป้าประสงค์ มาตการและรายละเอียด และการทำแผนควบคุมกำกับติดตามประเมินผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     •    ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     •    พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน     •    มาตรฐานการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ     •    กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10802.01 ประเมินปัญหาความต้องการ และองค์ประกอบเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันปัญหาในอาคาร รวมถึงกิจกรรมในอาคาร 10802.01.01 185754
10802.01 ประเมินปัญหาความต้องการ และองค์ประกอบเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ 2) สำรวจความต้องการของผู้เกี่ยวข้องรวมถึง ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ใช้อาคาร 10802.01.02 185755
10802.01 ประเมินปัญหาความต้องการ และองค์ประกอบเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ 3) อธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10802.01.03 185756
10802.01 ประเมินปัญหาความต้องการ และองค์ประกอบเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ 4) อธิบายเทคโนโลยี นวัตกรรม ในการประหยัดพลังงานและทรัพยากรเพื่อประยุกต์ใช้ในอาคาร 10802.01.04 185757
10802.01 ประเมินปัญหาความต้องการ และองค์ประกอบเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ 5) อธิบายแหล่งทุนและแหล่งร่วมลงทุน 10802.01.05 185758
10802.02 วางแผนกลยุทธ์การพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมระยะยาว 1) กำหนดนโยบายการประหยัดพลังงานและทรัพยากรที่ใช้ในอาคาร 10802.02.01 185759
10802.02 วางแผนกลยุทธ์การพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมระยะยาว 2) วางแผนกลยุทธ์การลงทุนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด 10802.02.02 185760
10802.02 วางแผนกลยุทธ์การพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมระยะยาว 3) ระบุแผนการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ 10802.02.03 185761
10802.02 วางแผนกลยุทธ์การพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมระยะยาว 4) ทำแผนควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม 10802.02.04 185762

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     •    ทักษะอนุรักษ์พลังงาน

     •    ทักษะด้านการวิเคราะห์

     •    ทักษะการวางแผน

     •    ทักษะการสื่อสาร โน้มน้าว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     •    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ในอาคารและบริเวณ

     •    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกอบอาคาร  การตั้งค่าอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ

     •    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดและวิธีตรวจวัดค่าการใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในอาคาร

     •    ความรู้เรื่องกิจกรรมในอาคารและสถานที่

     •    ความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม

     •    ความรู้ด้านการวิเคราะห์การลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม

     •    ความรู้เทคโนโลยีและนวตกรรมให้การประหยัดพลังงาน

     •    ความสามารถในการโน้มน้าวผู้บริหารในการลงทุน

     •    ความสามารถในการโน้มน้าวผู้มีส่วนร่วม เพื่อให้ความร่วมมือในแผนการประหยัดพลังงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     •    หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

     •    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     •    หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     •    หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวกับการประกันภัยและการบริหารจัดการทรัพย์สิน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

     หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

          1.    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

          2.    ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

          3.    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 (ง) วิธีการประเมิน

     •    การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

     ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและรายละเอียดของอาคาร ระบบอาคาร รู้จักอุปกรณ์ในอาคาร สามารถวางแผน วัดค่าการใช้งาน ควบคุม และประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวอาคาร

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

     1.    การประเมินการวิเคราะห์การลงทุนการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลบประมาณการลงทุน  แหล่งเงินทุน และผลตอบแทนการลงทุน ตามอายุโครงการ

     2.    ทางเลือกในการประหยัดพลังงานและทรัพยากรที่ใช้ในอาคาร ได้แก่ ทางเลือกด้านเทคโนโลยีและนวตกรรมที่ใช้ในอาคาร เช่น เลือกใช้หลอดไฟ LED และการเลือกใช้ก๊อกน้ำระบบ sensor ที่มีราคาค่าอุปกรณ์ที่แพงกว่าแต่ในระยะยาวประหยัดพลังงานและทรัพยากรมากกว่า เป็นต้น

     3.    การวางแผนการพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและทรัพยากรระยะยาวหมายถึง การกำหนดทิศทางการพัฒนาอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน ตามรูปแบบการงานแผนกลยุทธ์ ได้แก่การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการพัฒนา

     4.    กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่

          •    พ.ร.บ. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

          •    มาตรฐานการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ

          •    กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

          •    กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง

     5.    การลงทุนและแหล่งเงินทุน 

          •    การลงทุน แบ่งเป็น 3 ระยะ

               o    การลงทุนระยะสั้น คือการจัดหาเงินทุนมาใช้ดำเนินการการลงทุนที่มีระยะเวลาโครงการภายใน 1 ปี

               o    การลงทุนระยะปานกลาง คือการจัดหาเงินทุนมาใช้ดำเนินการการลงทุนที่มีระยะเวลาโครงการมากกว่า 1 ปี แต่ไม่กิน 5 ปี

               o    การลงทุนระยะยาว คือการจัดหาเงินทุนมาใช้ดำเนินการการลงทุนที่มีระยะเวลาโครงการ เกินกว่า 5 ปีขึ้นไป

          •    แหล่งเงินทุน 

               o    แหล่งเงินทุนระยะสั้น

                        เงินทุนหมุนเวียน

                        เครดิตการค้า รวมถึง เจ้าหนี้ค้างจ่ายและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

                        เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ในรูปเงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้แบบหมุนเวียน ตั๋ว L/C

               o    แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง

                        เงินกู้จารธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ในรูป เครดิตชนิดหมุนเวียน และสัญญาเงินกู้ระยะปานกลาง 

               o    แหล่งเงินทุนระยะยาว

                        เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ในรูปสัญญาเงินกู้ระยะยาว สินเชื่อเงินกู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานอัตราดอกเบี้ยพิเศษ (โครงการที่เข้าข่ายการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 มาตรา 7 และ มาตรา17)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

     •    ประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ