หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารอาคารให้ประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-XLKM-163A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารอาคารให้ประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1219 ผู้จัดการอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยทักษะเพื่อตรวจวัด วิเคราะห์ และกำหนดมาตรการเพื่อการบริหารอาคารให้ประหยัดพลังงานละสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     •    ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์     •    ช่างอาคารเพื่อการพาณิชย์     •    ผู้ดูแลอาคารสถานที่อาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     •    พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน     •    มาตรฐานการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ     •    กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10801.01 รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน 1) อธิบายรายละเอียดของระบบประกอบอาคาร 10801.01.01 185745
10801.01 รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน 2) อธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการประหยัดพลังงานและทรัพยากรในอาคาร 10801.01.02 185746
10801.01 รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน 3) อธิบายวิธีการตรวจวัดการใช้ค่าพลังงาน 10801.01.03 185747
10801.01 รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน 4) เลือกใช้อุปกรณ์และระบบตรวจวัดค่าพลังงาน 10801.01.04 185748
10801.02 กำหนดมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อการบริหารอาคาร 1) กำหนดขอบเขตการใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรในอาคาร
10801.02.01 185749
10801.02 กำหนดมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อการบริหารอาคาร 2) กำหนดเวลาใช้งานพื้นที่อาคาร อุปกรณ์และเครื่องจักรในอาคารให้เหมาะสม 10801.02.02 185750
10801.02 กำหนดมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อการบริหารอาคาร 3) กำหนดเป้าหมายการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าและทรัพยาก 10801.02.03 185751
10801.02 กำหนดมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อการบริหารอาคาร 4) หาค่าการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าและทรัพยากร ในอาคาร 10801.02.04 185752
10801.02 กำหนดมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากรเพื่อการบริหารอาคาร 5) วิเคราะห์ค่าพลังงานเพื่อกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลง 10801.02.05 185753

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     •    ทักษะอนุรักษ์พลังงาน

     •    ทักษะด้านการวิเคราะห์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     •    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ในอาคารและบริเวณ

     •    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกอบอาคาร  การตั้งค่าอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ

     •    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดและวิธีตรวจวัดค่าการใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในอาคาร

     •    ความรู้เรื่องกิจกรรมในอาคารและสถานที่

     •    ความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     •    หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

     •    ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     •    หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

     •    หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือ สัมมนาที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

     หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

     1.    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

     2.    ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

     3.    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง)     วิธีการประเมิน

     •    ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย

     •    การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

     ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและรายละเอียดของอาคาร ระบบอาคาร รู้จักอุปกรณ์ในอาคาร สามารถวางแผน วัดค่าการใช้งาน ควบคุม และประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวอาคาร

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

     1.    หลักการประหยัดพลังงาน คือ การลดค่าใช้จ่ายพลังงานโดยไม่ทำให้การทำงานเสียหายและรักษาระดับความสบายของผู้ใช้อาคารให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

     2.    ระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และทรัพยากรที่ใช้ในอาคาร

          •    ระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เครื่องสูบน้ำ

          •    ทรัพยากรที่ใช้ในอาคาร รวมถึง การใช้น้ำ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้กระดาษ การใช้แผ่น CD

     3.    เครื่องมือตรวจวัดระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ได้แก่ 

          •    เครื่องมือตรวจวัดระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ได้แก่ เพาเวอร์มิเตอร์แบบคล้องวัด มิเตอร์วัดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดและบันทึกค่าทางไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง 

          •    เครื่องมือตรวจวัดระบบปรับอากาศ ได้แก่ เพาเวอร์มิเตอร์แบบคล้องวัดหัววัดความเร็วลมแบบ pilot tube หัววัดความเร็วลมแบบใบพัดความเร็วลมคงที่ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ 

          •    เครื่องมือตรวจวัดระบบแสงสว่าง ได้แก่ เครื่องมือวัดค่าความสว่าง (lux tester) 

          •    เครื่องมือตรวจวัดเครื่องสูบน้ำ ได้แก่ เครื่องวัดความเร็วรอบมิเตอร์ เกจวัดความดันเครื่องสูบน้ำ 

     4.    ค่าพลังงาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

          •    OTTV (Overall Thermal Transfer Value) คือค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ผ่านพนังเข้ามาต่อ 1 ตารางเมตร มีหน่วยเป็น Watt ต่อตารางเมตร ทั้งผนังทึบ และผนังโปร่งแสง

          •    RTTV (Roof Thermal Transfer Value) คือค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ผ่านหลังคาเข้ามาต่อ 1 ตารางเมตร มีหน่วยเป็น Watt ต่อตารางเมตร

     5.    วิธีคำนวณค่าพลังงาน

          •    การคำนวณค่าพลังงาน ประกอบด้วยตัวแปร (1) ค่าพลังงานที่สามารถผ่านวัสดุในพื้นที่ 1 ตารางเมตร (2) พื้นที่ผนังที่ทำการวัดค่า (3) ผลต่างอุณหภูมิเทียบเท่า (Temperture Difference Equivalent) ได้แก่อุณหภูมิภายนอกอาคารและ ภายในอาคาร หรือ อุณหภูมิ ที่กำหนดและอุณหภูมิภายใน

          •    การคำนวณค่าพลังงานเฉลี่ย ได้โดยการเข้าสูตรคำนวณ ค่าพลังงานที่สามารถผผ่านวัสดุคูณด้วยพื้นที่ คูณด้วยผลต่างอุณหภูมิเทียบเท่า ของพื้นที่แต่ละส่วน เมื่อรวมผลคำนวณของทุกส่วนแล้ว จึงหารผลคำนวณทุกส่วนด้วยพื้นที่รวม

     6.    การกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน

องค์กรต้องตั้งค่าค่ามาตรฐานการใช้งาน ขึ้นมาเอง ขึ้นอยู่กับลักษณะอาคาร อุปกรณ์อาคาร กิจกรรมการใช้อาคาร รวมถึงเป้าหมายของการประหยัดพลังงานในแต่ละช่วงเวลา

     7.    กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่

          •    พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

          •    มาตรฐานการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ

          •    กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

     •    ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัยและการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ