หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยง

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-KXBR-133A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     ISCO 1219 ผู้จัดการอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        เป็นหน่วยสมรรถนะที่ประกอบด้วยทักษะความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการบริหารความเสี่ยง คลอบคลุม การศึกษาสภาพอาคารและสิ่งแวดล้อม การกำหนดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ การประเมินความเสี่ยง แผนการตอบสนอง กิจกรรมและบุคคลากรรับผิดชอบเข้าปฏิบัติงาน รวมถึงวิธีการติดตามผลและประเมินผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้จัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ ผู้ดูแลอาคารสถานที่อาคารเพื่อการพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10206.01 วางแผนการรับมือกับความเสี่ยง 1) วางนโยบายการบริหารความเสี่ยง 10206.01.01 185453
10206.01 วางแผนการรับมือกับความเสี่ยง 2) ระบุความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นในกระบวนการบริหารทรัพย์สิน 10206.01.02 185454
10206.01 วางแผนการรับมือกับความเสี่ยง 3) วิเคราะห์ความเสี่ยง 10206.01.03 185455
10206.01 วางแผนการรับมือกับความเสี่ยง 4) วางแผนมาตรการตอบสนองความเสี่ยง 10206.01.04 185456
10206.02 ประเมินมาตรการการตอบสนองความเสี่ยง เพื่อทบทวนแผน 1) ประเมินมาตรการในการตอบสนองความเสี่ยงด้านต่างๆ 10206.02.01 185457
10206.02 ประเมินมาตรการการตอบสนองความเสี่ยง เพื่อทบทวนแผน 2) ปรับปรุงแผนการรับมือกับความเสี่ยงจากผลการประเมิน 10206.02.02 185458
10206.02 ประเมินมาตรการการตอบสนองความเสี่ยง เพื่อทบทวนแผน 3) นำเสนอแผนที่ปรับปรุงต่อผู้บังคับบัญชา 10206.02.03 185459

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการเป็นผู้นำ รวมถึง ด้านการมีวิสัยทัศน์ การกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม และ การสร้างทีมงาน

  • ทักษะการวางแผนและพัฒนางาน

  • ทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการพูด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าอุปกรณ์/เครื่องมือรักษาความปลอดภัย

  • ความรู้เรื่องกิจกรรมในอาคารและสถานที่

  • ความเข้าใจในมิติด้านความปลอดภัยที่ปรากฏในแผนบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแผนผังของพื้นที่/ที่ทำการ และจุดที่ตั้งของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

  • ความเข้าใจในภารกิจกรรมรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรมสาขาที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

  3. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



 (ง) วิธีการประเมิน




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ผู้ทดสอบต้องมีความรู้เกี่ยวกับ




  1. ลักษณะและรายละเอียดของอาคาร ระบบอาคาร รู้จักอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาคาร สามารถวางแผนในการควบคุม และจัดการที่เกี่ยวกับการบริหารระบบความปลอดภัยอาคาร

  2. ความรู้ในการจัดการเชิงกลยุทธ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การจัดการเชิงกลยุทธ์หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ (กำหนดทิศทาง) ในการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดกำหนดภารกิจในการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์กำหนดเป้าหมาย (กำหนดขอบเขตของทิศทางของวิสัยทัศน์) ได้แก่         การกำหนดเวลา (ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว) ปริมาณ และคุณภาพและกำหนดวัตถุประสงค์ (รายละเอียดของภารกิจ) เพื่อตอบสนองต่อภารกิจและเป้าหมาย และต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้เช่า ลูกค้า พนักงาน ผู้บริหารและชุมชน

  • ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นในการบริหารทรัพย์สิน ได้แก่ ความเสี่ยงด้าน              การบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ในอาคาร การให้บริการพื้นที่เช่าและผู้ใช้อาคาร  การดูแลอาคารสถานที่ให้ใช้งานได้สะดวก สะอาดและปลอดภัย การจัดการด้านสัญญาและกฎหมาย การจัดการด้านการเงิน และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

  • เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง

    • การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ

    • การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ

    • การวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง



  • มาตรการการตอบสนองความเสี่ยง ได้แก่

    • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

    • การลดความเสี่ยง

    • การแบ่งความเสี่ยง/การโอนถ่ายความเสี่ยง

    • การยอมรับความเสี่ยง




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้




  • ประเมินโดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย



ยินดีต้อนรับ