หน่วยสมรรถนะ
บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ILS-SYYT-227B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 2643 : นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานล่ามภาษามือตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและมีทัศนคติที่ดีในการให้บริการเป็นล่ามภาษามือต่อคนหูหนวก แปล หรือ ถ่ายทอดใจความภาษาพูดเป็นภาษามือ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ตลอดจน แปลหรือถ่ายทอดภาษามือเป็นภาษาพูดถูกต้องครบถ้วน สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ และ ผู้รับบริการ มีความเข้าใจในการแปลของล่ามภาษามือ รักษาความลับของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้รับบริการล่ามภาษามือและผู้เกี่ยวข้อง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาล่ามเพื่อการสื่อสาร อาชีพล่ามภาษามือ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1) จรรยาบรรณของวิชาชีพล่ามภาษามือ โดยสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย 2) ประกาศที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด3) มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด4) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25565) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. 2561 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 1.ต้องทักทาย แนะนำตัวเอง และพูดคุยกับผู้รับบริการว่าจะมาทำหน้าที่ล่ามภาษามือให้คนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคุ้นชินการใช้ภาษามือในการสื่อสาร |
1010701.01 | 182854 |
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 2. ต้องได้รับการยินยอมจากคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบในการให้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ |
1010701.02 | 182855 |
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 3. ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการล่ามภาษามือแก่คนหูหนวก |
1010701.03 | 182856 |
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 4. ปฏิบัติงานล่ามภาษามือด้วยความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและชุมชนคนหูหนวก |
1010701.04 | 182857 |
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 5. ต้องเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง |
1010701.05 | 182858 |
1010701 ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
PC 6. ปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ อย่างเคร่งครัด ไม่สร้างความเสื่อมเสียที่ส่งผลกระทบต่อผู้ร่วมวิชาชีพล่ามภาษามือ |
1010701.06 | 182859 |
1010702 การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป |
PC 1. ทำหน้าที่ล่ามภาษามือโดยจับประเด็น ถอดความหมาย แปลความหมายและถ่ายทอดใจความสำคัญด้วยภาษามือไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน |
1010702.01 | 182860 |
1010702 การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป |
PC 2. ต้องระมัดระวังคำหรือภาษามือที่ใช้ในการสื่อสาร ต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิส่วนตัวของคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการ |
1010702.02 | 182861 |
1010702 การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป |
PC 3. ประเมินสถานการณ์แล้วเลือกใช้การแปลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ |
1010702.03 | 182862 |
1010702 การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป |
PC 4. ใช้ภาษามือตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ ได้แก่ท่ามือ ตำแหน่งของมือ การเคลื่อนไหวของมือ ทิศทางของฝ่ามือ และการแสดงสีหน้า |
1010702.04 | 182863 |
1010703 การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ |
PC 1. ล่ามภาษามือตกลงรายละเอียดการทำงานร่วมกัน ก่อนปฏิบัติงาน |
1010703.01 | 182864 |
1010703 การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ |
PC 2. ร่วมปรึกษากับทีมล่ามภาษามือเพื่อพัฒนาตนเองหลังการปฏิบัติงาน |
1010703.02 | 182865 |
1010704 ให้บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
PC 1. ฟังและแปลเป็นภาษามือไทยเพื่อการรับบริการทางการแพทย์ในการรักษาโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่องของคนหูหนวก |
1010704.01 | 182866 |
1010704 ให้บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
PC 2. แปลภาษามือจากคนหูหนวกเป็นภาษาพูดให้กับแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามอาการ ได้ครบถ้วน ชัดเจน |
1010704.02 | 182867 |
1010704 ให้บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
PC 3. ผู้ปฏิบัติงานล่ามภาษามือไม่มีอำนาจลงนามในเอกสารทางการแพทย์ใดๆ แทนผู้ป่วย |
1010704.03 | 182868 |
1010704 ให้บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
PC 4. ประสานญาติหรือผู้ดูแลคนหูหนวกเพื่อแจ้งเรื่องการรักษา |
1010704.04 | 182869 |
1010704 ให้บริการล่ามภาษามือทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง |
PC 5. ผู้ปฏิบัติงานล่ามภาษามือให้ข้อมูลของคนหูหนวกเท่าที่ได้รับความยินยอมและจำเป็นต่อการรับบริการทางการแพทย์ |
1010704.05 | 182870 |
1010705 การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ |
PC 1. ในการปฏิบัติงานจะต้องมีทั้งล่ามหูดีและล่ามคนหูหนวกเพื่อช่วยสื่อสารด้วยภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือประดิษฐ์ |
1010705.01 | 182871 |
1010705 การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ |
PC 2. ล่ามหูหนวกและล่ามหูดีตกลงรายละเอียดการปฏิบัติร่วมกัน ก่อนให้บริการสำหรับคนหูหนวกที่ไม่ |
1010705.02 | 182872 |
1010705 การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ |
PC 3. ล่ามคนหูหนวกมีหน้าที่แปลรับส่งข้อมูลให้คนหูหนวกที่ใช้ภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือประดิษฐ์ |
1010705.03 | 182873 |
1010705 การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ |
PC 4.ล่ามหูดีมีหน้าที่แปลจากล่ามหูหนวกให้คนหูดี และแปลภาษาพูดเป็นภาษามือไทยให้ล่ามคนหูหนวกเพื่อสื่อสารกับคนหูหนวก |
1010705.04 | 182874 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) สามารถสื่อสารด้วยภาษามือไทย และใช้ภาษาไทยได้เป็นดี (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) สามารถสื่อสารด้วยภาษามือไทย และใช้ภาษาไทยได้เป็นดี |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ล่ามภาษามือทำหน้าที่เป็นล่าม เพื่อการสื่อสารและให้บริการทางการแพทย์และงานสาธารณะสุข ในการตรวจรักษา ติดตามอาการ โรคกลุ่มเรื้อรัง (Chronic disease) โรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน การปฏิบัติงานแปลข้อความในเอกสารหรือถ่ายทอดภาษามือเป็นภาษาพูดและการถ่ายทอดภาษาพูดเป็นภาษามือ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย ถูกต้องเหมาะสมสถานการณ์ มีความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน มีความสามารถในแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาของคนไข้ในขอบเขตที่ไม่ละเมิด โดยสามารถใช้ภาษามือที่เกี่ยวข้องกับการทำงานสำหรับคนหูหนวก |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ |